การพัฒนาชุดการนิเทศแบบ APIDESE เพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้รายบุคคลในการส่งเสริมทักษะอาชีพและการมีงานทำในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้เรียน ที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น

APIDESE Supervision for Enhancing Competency for teachers under Khon Kaen primary educational service area office to teach special need with career path in the 21st century

ผู้แต่ง

  • สิรินันท์ สุรไพฑูรย์ แซ่ผุง (Sirinan surapaitoon Saepung) -

คำสำคัญ:

การนิเทศแบบ APIDESE; ทักษะอาชีพและการมีงานทำ; ความต้องการพิเศษ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการนิเทศแบบ APIDESE เพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้รายบุคคลในการส่งเสริมทักษะอาชีพและการมีงานทำในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น 2) ศึกษาผลการนิเทศแบบ APIDESE เพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้รายบุคคลในการส่งเสริมทักษะอาชีพและการมีงานทำในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษาและ 3) ศึกษาความคิดเห็นของครูที่มีต่อการนิเทศแบบ APIDESE เพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้รายบุคคลในการส่งเสริมทักษะอาชีพและการมีงานทำในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่จัดการศึกษาเรียนรวมในโรงเรียน 64 แห่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 64 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงจากครูที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่จัดการศึกษาเรียนรวมประจำโรงเรียนและสมัครเข้าร่วมในการพัฒนา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 56 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie & Morgan เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ทดลอง ได้แก่ คู่มือชุดการนิเทศแบบ APIDESE เพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้รายบุคคลในการส่งเสริมทักษะอาชีพและการมีงานทำในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษา แผนจัดการเรีนรู้ และแผนนิเทศ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพของชุดนิเทศ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ และแบบสอบถามความคิดเห็น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล ค่าสัมประสิทธิการกระจาย และการทดสอบค่าที t-test
          ผลการวิจัย พบว่า 1. การพัฒนาชุดการนิเทศแบบ APIDESE เพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้รายบุคคล ในการส่งเสริมทักษะอาชีพและการมีงานทำ ในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่นที่พัฒนาขึ้น มีคุณภาพอยู่ในระดับดี ( gif.latex?\bar{x} = 4.36, S.D.=0.15) มีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I) เป็น 0.66 และค่าสัมประสิทธิการประจาย (C.V.) 5.60 2. ผลการนิเทศแบบ APIDESE เพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้รายบุคคล ในการส่งเสริมทักษะอาชีพและการมีงานทำ ในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษทางการศึกษา พบว่า หลังการนิเทศสูงกว่าก่อนนิเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้รายบุคคลอาชีพและการมีงานทำในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาอยู่ในระดับดี ( gif.latex?\bar{x} =2.89, S.D.=0.13) 3. ครูมีความคิดเห็นต่อการนิเทศแบบ APIDESE เพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้รายบุคคลในการส่งเสริมทักษะอาชีพและการมีงานทำในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 4.44, S.D.=0.50)

References

กอบแก้ว ภุมเรส. (2553). การศึกษาการจัดการนิเทศการสอนในโรงเรียนเครือมูลนิธิ คณะเซนต์คาเบเรียลแห่งประเทศไทย. ม.ป.พ.

ทิพวรรณ ถาวรโชติ. (2564). รูปแบบการนิเทศด้วยเครือข่ายความร่วมมือเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. สุวีริยาสาส์น.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). การนิเทศการสอน สาขาหลักสูตรและการนิเทศ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. พิมลนิธิสยามกัมมาจล.

สงัด อุทรานนันท์. (2550). การนิเทศการศึกษา หลักการ ทฤษฎีและปฏิบัติ. มิตรสยาม.

สุจินต์ สว่างศรี. (2549). การส่งเสริมอาชีพคนพิการทางสติปัญญาของโรงเรียนลพบุรีปัญญานุกูล จังหวัดลพบุรี. โรงเรียนลพบุรีปัญญานุกูล จังหวัดลพบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). การขับเคลื่อนการศึกษามัธยมศึกษาไทย 4.0 เพื่อการมีงานทำแห่งศตวรรษที่ 21. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2552-2559. ฟันนี่พับลิชชิ่ง.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2556). พัฒนาการของคุณภาพนักเรียน และแนวทางการประเมิน. หน่วยศึกษานิเทศก์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 -2579. พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2557). ภารกิจและนโยบาย. http://www.vec.go.th/Default.Aspx?tabid.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ.

สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2557). ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับชาติ ปีการศึกษา 2556 บทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อภิเชษฐ์ วัฒนวรกุลเลิศ. (2552). การสนับสนุนงานการวิชาการในโรงเรียนของศึกษานิเทศก์ อำเภอเวียงแห จังหวัดเชียงใหม่. [สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อำนาจ ธีระวนิช. (2553). การจัดการยุคใหม่. มาเธอร์ บอส แพคเก็จจิ้ง.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal of Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Stainback, S & Stainback, W. (1996). Inclusion : A guide for educators. Paul H.Brooks.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27