การจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ร้อยละและอัตราส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลภูกามยาว

Learning Management According to Constructivist Theory with Context - Based Learning to Promote Learning Achievement of Percentage and Ratio for Grade 6 th Students of Anubanphukamyao School

ผู้แต่ง

  • อังค์วรา สมดี (Angwara Somdee) - รุสนันท์ แก้วตา (Russanan Kaewta) -

คำสำคัญ:

การเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์; การจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน; ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน; ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

          การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน เรื่อง ร้อยละและอัตราส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลภูกามยาว 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ร้อยละและอัตราส่วน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลภูกามยาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 23 คน  โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน เรื่อง ร้อยละและอัตราส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และและตรวจสอบพัฒนาการทางการเรียนโดยใช้คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์
          ผลการศึกษา พบว่า 1) ได้ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน 5 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 นำเข้าสู่บทเรียน (Introduction) ขั้นที่ 2 สำรวจวิเคราะห์ข้อมูลจากสถานการณ์ในบริบทที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริง (Explore and analyze) ขั้นที่ 3 เรียนรู้ร่วมกัน (Knowledge Sharing) ขั้นที่ 4 นำเสนอผลลัพธ์ (Present results) ขั้นที่ 5 การนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่ในบริบทที่เกี่ยวข้องกับชีวิตจริง (Applying in new context) 2) คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน เรื่อง ร้อยละ และอัตราส่วน สูงกว่าก่อนเรียน และคะแนนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่โรงเรียนกำหนดไว้ร้อยละ 70 นักเรียนมีพัฒนาการโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด

References

จินดา พราหมณ์ชู. (2553). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานเรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. [ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ทิศนา แขมมณี. (2548). การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซิปปา. พัฒนาคุณภาพวิชาการ.. (2566). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 26). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นพพร ธนะชัยขันธ์. (2555). สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 1). วิทยพัฒน์.

พันทิวา กุมวิโร. (2560). การพัฒนาหลักสูตรเสริมตามแนวคิดการเรียนรู้แบบอิงบริบทโดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

รัตนะ บัวสนธ์. (2565). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 7). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). การวัดผลประเมินผลคณิตศาสตร์. ซีเอ็คยูเคชั่น

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2565). รายงานผลการศึกษาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานการณ์โควิด – 19 : สภาพการณ์ บทเรียน และแนวทางการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้. กระทรวงศึกษาธิการ.

อนุชา แป้นจันทร์ (2556). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีบริบท เรื่อง การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์เพื่อพัฒนาความเข้าใจมโนทัศน์และความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ในชีวิตประจำวันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อวยพร เรืองตระกูล. (2546). การวัดและประเมินพัฒนาการของผู้เรียน. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27