การประเมินความต้องการจำเป็นในการนิเทศการศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรมบนฐานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร

A Needs Assessment for School Supervision to Foster Innovative Thinking Based on Education Sandbox within the Secondary Educational Service Area Office Si Sa Ket Yasothon

ผู้แต่ง

  • ณัฐพล พรมลี (์Natthapon Promlee) -

คำสำคัญ:

การนิเทศการศึกษา; พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา; การประเมินความต้องการจำเป็น; การคิดเชิงนวัตกรรม

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจสภาพปัจจุบัน สภาพพึงประสงค์เกี่ยวกับการนิเทศการศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรมบนฐานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร 2) ประเมินความต้องการจำเป็นในการนิเทศการศึกษา เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงนวัตกรรมบนฐานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร เป็นการวิจัยเชิงสำรวจกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ข้อมูล ครู และผู้บริหารโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรม จำนวน 205 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบบวิเคราะห์เอกสารและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและจัดลำดับความต้องการจำเป็นโดยใช้สูตร PNImodified   
          ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศการศึกษาของโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร อยู่ในระดับปานกลางและมากที่สุด ตามลำดับ 2) เรียงลำดับความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการนิเทศของโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร คือ ด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า ค่า PNImodified อยู่ระหว่าง 0.24 -0.59  ด้านการพัฒนาสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้ พบว่า ค่า PNImodified อยู่ระหว่าง 0.21 – 0.63 ด้านการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้และการนิเทศ พบว่า ค่า PNImodified อยู่ระหว่าง 0.27 – 0.61 ด้านการคิดเชิงนวัตกรรม พบว่า ค่า PNImodified อยู่ระหว่าง 0.50 – 0.65 ด้านการจัดการเรียนรู้ พบว่า ค่า PNImodified อยู่ระหว่าง 0.36 – 0.64 ด้านการวัดและประเมินผล พบว่า ค่า PNImodified อยู่ระหว่าง 0.31 – 0.67 ตามลำดับ

References

กมลพรรณ วุฒิอำพล. (2562). ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กรกต ขาวสะอาด และนภาเดช บุญเชิดชู. (2562). สมรรถนะเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา. งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 วิจัยสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่นสู่ Disruptive. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 1641.

กระทรวงศึกษาธิการ (2561). การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ. https://sandbox.ptnpeo.go.th/prakad/50/

กิตติพิชญ์ วรโชติสุพัฒภาคิน. (2563). แนวทางพัฒนาบทบาทการศึกษาต่อการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองดิจิทัลสู่ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม. 15 (2),337.

ฆฤณ กันชัย. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงนวัตกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้โครงงานเป็นฐาน. [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชาญณรงค์ วิเศษสัตย์. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครู. [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต] มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธรัช อารีราษฎร์. (2562). รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตามกรอบแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 สู่การจัดการศึกษา 4.0. โครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 52-54.

นรินทร์ บุตรพรหม. (2562). รูปแบบการนิเทศภายในเพื่อการพัฒนาการจัดการศึกษาที่ยั่งยืนของสถานศึกษา.[วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2563). คิดสำหรับเด็กไทย. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รติรส ศิริมงคลรัตน์. (2560). คลื่นความคิดจุดติดนวัตกรรม. bulbbeat.

วไลรัตน์ บุญสวัสดิ์. (2538). หลักการนิเทศการศึกษา. พรศิวการพิมพ์.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ช: การพัฒนาวิชาชีพ ทฤษฎี กลยุทธ์สู่การปฏิบัติ พิมพ์ครั้งที่ 12. โรงพิมพ์อักษรไทย.

วาสนา บุญมาก. (2562). การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. [วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2562). ชี้แนะการคิดเชิงนวัตกรรม. ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.

ศิมา สุขสว่าง. (2563, พฤศจิกายน 30). ทักษะการคิด Thinking Skills. Retrieved from Human Creativity Development (HCD) Innovation: https://www.sasimasuk.com /16681837/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1-thinking-skill

สงัด อุทรานันท์. (2530). การนิเทศการศึกษา หลักการ ทฤษฎีและปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์มิตรสยาม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร. (2564). รายงานการนิเทศการศึกษา. กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2540). คู่มือดำเนินการนิเทศ: เอกสารชุดพัฒนาระบบการนิเทศการศึกษาศึกษา. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดศรีสะเกษ. (2564). คู่มือการใช้กลไกการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดศรีสะเกษ. ศรีสะเกษการพิมพ์.

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2562). ราชกิจจานุเบกษา พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา. https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/056/T_0102.PDF

สุวิมล ว่องวานิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อธิศ ไชยศิรินทร์. (2563). รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 80-81.

อนุพงษ์ คล้องการ. (2563). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักเรียน. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา, 43.

อมรรัตน์ ศรีพอ. (2561). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม. [วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรรัตน์ ศรีพอ, รับขวัญ ภูษาแก้ว และพฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2563). ความต้องการจำเป็นในการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนตามแนวคิดทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 85-98.

อรชร ปราจันทร์. (2560). รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อรอุษา วงศ์จรัสเกษม. (2561). ทักษะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

อัญชลี ธรรมะวิธีกุล. (2565, กุมภาพันธ์ 21). Anchalee'blog. Retrieved from ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา: https://panchalee.wordpress.com/2009/03/30/supervision-3/

อาทิฐยา วรนิตย์. (2563). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหา. [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Greg Satell. (2017). Mapping Innovation: A Playbook for Navigating a Disruptive Age. New York : McGraw Hill.

Harris. (1985). Supervisory Behavior in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs New Jersey: Prentice-Hall, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27