การพัฒนาชุดฝึกอบรมครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
The Development of The Training Packages for Teachers to Promote Integrated Learning Management as Inspired by King Rama X’s Educational Philosophy into Practice under The Secondary Education Service Area Office Bangkok 2
คำสำคัญ:
ชุดฝึกอบรม; การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ; พระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัชกาลที่ 10บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกอบรมครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ 2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของครูก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกอบรมครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของครูที่ใช้ชุดฝึกอบรมครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่น้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นครูจาก 4 โรงเรียน ที่เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่และขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมกรุงเทพมหานคร เขต 2 ขนาดละ 1 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 260 คน ได้มาโดยสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) และผู้ให้ข้อมูลที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์พัฒนา ชุดฝึกอบรม 2) ชุดฝึกอบรมครู 3) แบบทดสอบผลการเรียนรู้ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test แบบ Dependent วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1) กระบวนการพัฒนาชุดฝึกอบรมมี 5 ขั้นตอน ชุดฝึกอบรมมีหน่วยการเรียนรู้จำนวน 6 หน่วย รูปแบบการใช้ชุดฝึกอบรมเป็นแบบผสมผสาน
2) หลังใช้ชุดฝึกอบรมครูมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนใช้ชุดฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3) ระดับความพึงพอใจของครูที่ใช้ชุดฝึกอบรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
References
จักรกฤษณ์ จันทะคุณ, สุพรทิพย์ ธนภัทรโชติวัต, วารีรัตน์ แก้วอุไร, อมรรัตน์ วัฒนาธร และกัญญาภัค พุ่มแย้ม. (2565). การพัฒนาชุดฝึกอบรมครูเพื่อพัฒนาหลักสูตรภัยพิบัติท้องถิ่นแผ่นดินไหวที่เหมาะสมในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 17(2), 167-183.
จิรชพรรณ ชาญช่าง. (2563). การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง: การเรียนรู้สู่การปฏิบัติจริง. วารสารครุศาสตร์, 48(3), 78-89.
จิรพร ศรีสุวรรณ. (2563). การพัฒนาโมเดลการอบรมครูแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา. วารสารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 30(2), 141-155.
จีระ หงส์ลดารมย์. (2561). การพัฒนาโมเดลการอบรมครูแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 37(2), 101-115.
ชุติมา บุญช่วย. (2560). การพัฒนาชุดฝึกอบรมครูแบบผสมผสานเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 37(2), 121-135.
เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์. (2552). การวิเคราะห์ข้อสอบปรนัย. เวชบันทึกศิริราช, 2(1), 31-37.
นงลักษณ์ จันทร์แก้ว. (2562). การนิเทศการสอนแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 29(3), 159-172.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). วิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
วรางคณา โสมะนันทน์. (2562). การพัฒนาชุดฝึกอบรมทักษะการปรึกษาเชิงจิตวิทยาเบื้องต้นสำหรับครูประจำชั้นระดับมัธยมศึกษา. วารสารครุศาสตร์, 47(1), 315-336.
วิทยา ขนชัยภูมิ และมาเรียม นิลพันธุ์. (2565). การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 5(3), 170-181.
ศิริพร วงษ์ศรี. (2559). การนิเทศการสอนเพื่อพัฒนาครู. วารสารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 28(2), 127-140.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. (2565). ชุดฝึกอบรมครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. สพม.กท 2.
______. (2566, 18 ธันวาคม). นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 – 2568.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สพฐ.
______. (2565). แนวทางการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตำแหน่งศึกษานิเทศก์. สพฐ.
______. (2567). แนวทางการดำเนินงานโครงการน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ.
______. (2567, 14 พฤศจิกายน). นโยบายและจุดเน้นของสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 – 2568 และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ. บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สุรพล แก้วใส. (2560). การนิเทศการสอนเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.
ฮัดซัน ดาอี และซัมซู สาอุ. (2565). การพัฒนาชุดฝึกอบรมด้วยเทคนิคการคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะด้านการจัดการเรียนการสอนออนไลน์สำหรับครูผู้สอนอิสลามศึกษา โรงเรียนบ้านเทพา จังหวัดสงขลา. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย, 17(2), 209-223.
Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. psychometrika, 16(3), 297-334
Thorn, D. W., & Deitz, J. C. (1989). Examining content validity through the use of content experts. The Occupational Therapy Journal of Research, 9(6), 334-346.
Yarbrough, D. B., Shulha, L. M., Hopson, R. K., & Caruthers, F. A. (2011). Joint Committee on Standards for Educational Evaluation–the program evaluation standards: A guide for evaluators and evaluation users.
Zimmerman, D. W. (1972). Test reliability and the Kuder-Richardson formulas: Derivation from probability theory. Educational and Psychol.