การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง พระมหากษัตริย์ผู้สถาปนาอาณาจักรไทย โดยใช้การเรียนรู้เชิงรุก สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Development of a Learning Activity of History on The King who founded The Kingdom of Thailand using Active Learning Management for Prathomsuksa 3 Students
คำสำคัญ:
กิจกรรมการเรียนรู้; ประวัติศาสตร์; การเรียนรู้เชิงรุกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง พระมหากษัตริย์ผู้สถาปนาอาณาจักรไทย โดยใช้การเรียนรู้เชิงรุก สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียน ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนบ้านปากอูน (ปากอูนผดุงวิทย์) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 31 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีชนิดกลุ่มไม่อิสระกัน (Dependent samples t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1) กิจกรรมการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง พระมหากษัตริย์ผู้สถาปนาอาณาจักรไทย โดยใช้การเรียนรู้เชิงรุก มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.52/80.65 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ 80/80
2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง พระมหากษัตริย์ผู้สถาปนาอาณาจักรไทย โดยใช้การเรียนรู้เชิงรุกสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง พระมหากษัตริย์ ผู้สถาปนาอาณาจักรไทย โดยใช้การเรียนรู้เชิงรุก สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับมากที่สุด
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2523). ชุดกิจกรรมในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เอกสารการสอนวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เนาวนิตย์ สงคราม. (2555). การสร้างนวัตกรรมเปลี่ยนผู้เรียนให้เป็นผู้สร้างนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บริบูรณ์ ชอบทำดี. (2559). การพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วัชรา เล่าเรียนดี และคณะ. (2560). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 11). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วินัย พงศ์ศรีเพียร. (2543). คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา.
สถาพร พฤฑฒิกุล. (2555). คุณภาพผู้เรียนเกิดจากกระบวนการเรียนรู้ (Quality of students derived from active learning process). วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 6(2), 1-13.
สมนึก ภัทธิยธนี. (2549). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2557). Active learning : การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. นิตยสาร สสวท, 42(188), 3-6.
สุรวาท ทองบุ. (2550). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2554). เพื่อนคู่คิด มิตรคู่ครู แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อภิวาส โพธิตาทอง. (2563). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อานนท์ ไชยฮั่ง. (2563). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมนวัตกรรมทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสารภีพิทยาคม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อัษฎายุธ พุทโธ. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านการวิเคราะห์ เรื่อง การหาข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Collins, J. W., & O’Brien, N. P. (2003). The greenwood dictionary of education. Westport, CT : Greenwood Press.
Silberman, M. L. (1996). Active Learning : 101 Strategies to Teach Any Subject. Needham Heights, MA: Allyn & Bacon.
Ward, R. (1998). Active, Collaborative and case-based learning with Computer based case Scenarios. Computer in Education, 30(1), 103-110.