แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

The Best Practices for Active Learning in The Unit of DNA Technology to Enhance Learning Achievement and Science Communication Skill of Grade 10 th students

ผู้แต่ง

  • ขวัญฤทัย เที่ยงจันทราทิพย์ Khuanruethai Thiangchanthathip โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ พะเยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพะเยา

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้เชิงรุก; ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน; ทักษะการสื่อสารทางการวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้เรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ 3) ศึกษาทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์หลังได้รับการเรียนรู้เชิงรุก และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ กลุ่มที่ศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 33 คน ซึ่งมาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ และ4) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย และหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ
       ผลการศึกษาพบว่า
       1. แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ ได้แก่ 1) การใช้คำถามเพื่อกระตุ้นความสนใจ ทบทวนความรู้เดิม และนำไปสู่การอภิปราย 2) การใช้เกมและวิดีทัศน์เพื่อสร้างความสนใจและส่งเสริมความเข้าใจสาระการเรียนรู้ของนักเรียน 3) การส่งเสริมให้นักเรียนระดมความคิด อภิปราย และสร้างข้อสรุปจากหลักฐานที่มาจากการสืบเสาะ 4) การสื่อสารและสะท้อนผลการเรียนรู้ระหว่างครูผู้สอนกับนักเรียน และ 5) การอำนวยความสะดวก แนะนำแนวทางการสืบเสาะและการเขียนอนุทินให้กับนักเรียน
        2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 14.21 คิดเป็นร้อยละ 71.06 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ ร้อยละ 70
        3. ทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน หลังได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หน่วยการเรียนรูู้ เรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.14 คิดเป็นร้อยละ 78.50
        4. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ อยู่ในระดับมาก (µ = 4.02, σ =0.52)

References

กมล โพธิเย็น. (2564). Active Learning: การจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19 (1), 11 – 28

กมลวรรณ กันยาประสิทย์. (2558). ประเด็นทางวิทยาศาสตร์กับสังคมเพื่อทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์, 26(2), 1-9.

กรรณิการ์ ไชยทอง และคณะ. (2562). การพัฒนาทักษะการสื่อสารวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 57.

จตุพร ตระกูลปาน. (2561, 19 สิงหาคม). ไลน์เครื่องมือสื่อสารเพื่อการเรียนรู้. มติชนออนไลน์. https://www.matichon.co.th/education/news_1091952

จุมพล เหมะคีรินทร์. (2552, 3 กันยายน). “สื่อสารวิทย์ ง่ายนิดเดียว” เสียงเล่าอ้างจากน้อง ๆ ชาวค่ายนักสื่อสารวิทยาศาสตร์, ผู้จัดการออนไลน์. https://mgronline.com/science/detail/9520000100833

ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 7). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญชนก ทาระเนตร และคณะ. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษาที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 24 (4), 132 – 142

ธันย์ชนก ผินอินทร์ (2564). การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงสถานะของสสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นิชาภา เจียรวัฒนากร และ อะรุณี แสงสุวรรณ. (2566). การศึกษาการรู้พันธุศาสตร์และเจตคติต่อพันธุศาสตร์ เรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 17 (1), 44 – 58

นิภาพร กุลสมบูรณ์ และ สุวิมล ว่องวานิช. (2565). Active Learning: จากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนสู่ปรัชญาและทฤษฎีรากฐาน ตั้งทิศให้ถูกเพื่อไม่ทิ้งครูให้หลงทางอีกต่อไป. คุรุสภาวิทยาจารย์. 3(2), 1-17

บุศมาพร กันทะวัง. (2562). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์และสังคมเพื่อส่งเสริมการรู้พันธุศาสตร์ เรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข (2545). พฤติกรรมการสอนวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป.

วชิร ศรีคุ้ม. (2561). แนวคิดคลาดเคลื่อนกับการพัฒนาสื่อการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. นิตยสาร สสวท., 47 (215), 5 - 9

ศิริชัย รุจิดามพ์ และคณะ. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก เรื่อง ฮอร์โมนพืช. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 23 (3), 301 - 314

สุนัดดา โยมญาติ. (2558). สื่อการสอนเรื่องพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุล และพันธุวิศวกรรมศาสตร์ การโคลนยีนโดยอาศัยพลาสมิดของแบคทีเรีย นิตยสาร สสวท., 44 (197), 3 - 7

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551, โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้, มปพ.

Good, C.V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw-Hill Book Co.

Kemmis, S. and Mctaggart. (1988). The Action Research Planner. Geelong Victoria: Deakin University

Ogle, D.M. (1986). K-W-L : A teaching model that develops active reading of expository text. Reading Teacher, 39(6), 564 - 570

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-16