รูปแบบการนิเทศภายในด้วยวิธีการศึกษาชั้นเรียนโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนหนองแห้ววังมนศึกษา จังหวัดขอนแก่น
Internal Supervision Model by a Lesson Study using Classroom-Based Approach for Student Quality in Nonghaew Wangmon Sueksa School Khonkaen Province
คำสำคัญ:
รูปแบบการนิเทศภายใน; วิธีการศึกษาชั้นเรียน; ห้องเรียนเป็นฐาน; คุณภาพผู้เรียนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการนิเทศภายในด้วยวิธีการศึกษาชั้นเรียน โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 2) พัฒนารูปแบบการนิเทศภายในด้วยวิธีการศึกษาชั้นเรียน โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในด้วยวิธีการศึกษาชั้นเรียน โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และ 4) ประเมินการใช้รูปแบบการนิเทศภายในด้วยวิธีการศึกษาชั้นเรียน โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยมีขั้นตอนการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูหัวหน้างานวิชาการ ศึกษานิเทศก์ จำนวนละ 3 คน รวม 9 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนหนองแห้ววังมนศึกษา จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบบันทึกการยกร่างรูปแบบ แบบบันทึกคุณภาพผู้เรียน และแบบประเมินการใช้รูปแบบการนิเทศภายในด้วยวิธีการศึกษาชั้นเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1) การวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการจำเป็น เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ด้านการวางแผนการนิเทศ ด้านการปฏิบัติการนิเทศ และด้านการสรุปและประเมินผลการนิเทศ
2) รูปแบบการนิเทศภายในด้วยวิธีการศึกษาชั้นเรียน โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนนำ ส่วนวิธีดำเนินการ และส่วนเงื่อนไขความสำเร็จ
3) ผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในด้วยวิธีการศึกษาชั้นเรียน โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พบว่า ผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียนในปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมมีพัฒนาการเพิ่มขึ้น
4) รูปแบบการนิเทศภายในด้วยวิธีการศึกษาชั้นเรียน โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากทุกด้าน
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กุญซ์พิสิฎฐ์ คงนุรัตน์. (2565). รูปแบบการนิเทศภายในตามแนวคิดการจัดการเชิงกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 5. (2566). เอกสารแนวทางการประเมิน ใครๆ ก็ไปห้องเรียน ห้องเรียนคุณภาพ ครูคุณภาพ นักเรียนคุณภาพ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 5.
กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2. (2563). คู่มือนิเทศ. ม.ป.ท.
กาญจน์ เรืองมนตรี และธรินธร นามวรรณ. (2560). ชุดการเรียนรู้ 3 ชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ. มหาสารคาม : สาขาวิชาการนิเทศการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
กรองทอง จิรเดชากุล. (2550). คู่มือการนิเทศภายในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: ธารอักษรการพิมพ์.
กิตติ วิชัยดิษฐ. (2563). ได้วิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนคลองท่อมราษฎ์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่. กระบี่ : โรงเรียนคลองท่อมราษฎ์รังสรรค์ จังหวัดกระบี่.
เกรียงศักดิ์ สังข์ชัย. (2552). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนครูวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียน ที่มีแววความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชาตรี โพธิกุล. (2552). สมรรถนะผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2 ตามมาตรฐานวิชาชีพคุรุสภา. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยานเรศวร.
ชารี มณีศรี. (2542). การนิเทศการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4) กรุงเทพฯ : โสภณพิมพ์.
ดารณีย์ พยัคฆ์กุล และวีระศักดิ์ ชมภูคำ. (2559). การพัฒนาสมรรถนะการนิเทศการศึกษาสู่ความเป็นศึกษานิเทศก์มืออาชีพ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น 10 (ตุลาคม -ธันวาคม 2559) : 161-174.
ทองคำ อำไพ. (2564). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นฤมล อินทร์ประสิทธิ์. (2552). การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) : นวัตกรรมเพื่อพัฒนาครูและนักเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ และสุลัดดา ลอยฟ้า. (2547). การพัฒนาวิชาชีพครูแนวใหม่เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้คณิตศาสตร์. KKU Journal of Mathematics Education, 1(1), 18-28.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ปนัดดา หมอยา และธรินธร นามวรรณ. (2561). การพัฒนาระบบการนิเทศแบบสอนแนะในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ สกลนคร 15 (เมษายน - มิถุนายน 2561): 52-61.
ประวิต เอราวรรณ. (2554). การวิจัยและการพัฒนาองค์การในโรงเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 2) มหาสารคาม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พิณสุดา สิริรังธศรี. (2557). การยกระดับคุณภาพครูไทยในศตวรรษที่ 21. นนทบุรี : บริษัทมาตาการพิมพ์ จำกัด.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2544). เทคนิคและทักษะการนิเทศการสอน. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2561). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจากัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). การกำหนดมาตรฐานการศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2554). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สุนันทา สบายวรรณ. (2555). การนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี. ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
โสภณ ทองจิตร. (2553). การปฏิบัติงานตามกระบวนการนิเทศการศึกษาภายในของผู้นิเทศในโรงเรียนในเครือข่ายบางกุ้ง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
สงัด อุทรานันท์. (2530). การนิเทศการศึกษา: หลักการ ทฤษฎี และปฏิบัติ (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มิตรสยาม.
หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน. ม.ป.ท.
อัมพรกัญ บัวครอง. (2553). การนิเทศการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนแกนนำการจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Beach, D.M. and Reinhartz, J. (2000). Supervision Leadership: Focus on Instruction. Boston : Allyn and Bacon.
Miles, M. B. & Huberman, A. M. (1984). Qualitative Data Analysis : A Sourcebook of New Methods. California ; SAGE publications Inc.