การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง แก๊ส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
The Development Activity Packages Based on Problem – based Learning (PBL) to Promote Science Problem Solving Ability on Gas for Grade 10th Students
คำสำคัญ:
ชุดกิจกรรมตามรูปแบบปัญหาเป็นฐาน; การแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์; แก๊สบทคัดย่อ
การพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง แก๊ส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง แก๊ส 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 80 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง แก๊ส กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนศรีเมืองวิทยาคาร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 36 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดกิจกรรมส่งเสริมการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง แก๊ส จำนวน 5 ชุด รวมเวลา 10 ชั่วโมง แบบวัดการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เป็นแบบกำหนดสถานการณ์ ชนิดปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แก๊ส แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และแบบสอบถามด้านความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ One – sample t – test
ผลการวิจัยพบว่า
1) ชุดกิจกรรมส่งเสริมการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง แก๊ส จำนวน 5 ชุด มีความเหมาะสมเฉลี่ย 4.61 - 4.96 อยู่ในระดับมากที่สุด
2) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ โดยรวมและจำแนกเป็นรายองค์ประกอบของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน มีค่าเฉลี่ย 4.53 - 4.96 อยู่ในระดับมากที่สุด
References
โกศล สีสังข์. (2559). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บทปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์แบบ 7E ที่ส่งเสริม การคิดวิเคราะห์ เรื่อง กรด – เบส ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ชณชนก นามโสม และวนิดา ฉัตรวิราคม. (2566). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ปัญหาด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่องพันธุกรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 9(1). 1651 – 1664.
ชนุกร แก้วมณี. (2562). ทักษะศตวรรษที่ 21 ของบัณฑิตวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์. 3(3). 11 – 27.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธันยพร ศรีวิชัย. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ รายวิชาเคมีพื้นฐาน เรื่องปฏิกิริยาเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.
บุณยานุช วิชัยโย และกัญญารัตน์ โคจร (2566 : 73) การพัฒนาความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่อง แก๊ส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้แบบจำลองเป็นฐาน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 17(2). 71 – 81.
ไพศาล สุวรรณน้อย. (2558). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning). สืบค้นจาก http://ph.kku.ac.th/ thai/images/file/km/pbl-he-58-1.pdf
ภักดี เอ่นแคน. (2561). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง ไฟฟ้าเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ภาณุวัฒน์ เปรมปรี. (2556). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบนิเวศน้ำจืด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนประเทียบวิทยาทาน จังหวัดสระบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ภูรินทร์ แตงน้อย. (2560). ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่ม. วารสาร มมร ล้านนาวิชาการ. 11(2). 83 – 96.
โรงเรียนศรีเมืองวิทยาคาร. (2563). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O - NET) โรงเรียนศรีเมืองวิทยาคาร ปีการศึกษา 2560 – 2562. อุบลราชธานี: ฝ่ายวิชาการโรงเรียนศรีเมืองวิทยาคาร.
วนิดา ส่องโสม. (2564). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยซิปปาโมเดลร่วมกับการใช้ชุดกิจกรรม เรื่อง แบบจำลองอะตอม รายวิชาเคมี 1 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสตรีราชินูทิศ. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6(6). 126 – 136.
วิชุดา วงศ์เจริญ. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคโนโลยีเสมือนจริง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
วิสุทธิ์ ตรีเงิน. (2550). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ด้วยโครงงานวิทยาศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถของเด็กในการอ่าน คิด วิเคราะห์ เขียน และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
อริยาภรณ์ ขุนปักษี. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Weir, C. (1994). The role of problem definitions in understanding age and context effects on strategies for solving everyday problems. Psychology and Aging. 13(1). 29 – 44.