รูปแบบการน้อมนำศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ ตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 ของนักเรียนโรงเรียนราชประชาสมาสัย ฝ่ายมัธยม รัชดาภิเษก ในพระบรมราชูปถัมภ์

Implementation of the King's Philosophy to Improve Students’ Desired Outcomes in Accordance with National Education Standard B.E. 2561in Rajprachasamasai Phaimathayom Rachadabhisek School.

ผู้แต่ง

  • นิตยา มั่นชำนาญ Nitaya Manchamnan, สมชัย ชวลิตธาดา Somchai Chavalitthada โรงเรียนราชประชาสมาสัย ฝ่ายมัธยมศึกษา รัชดาภิเษก ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

ศาสตร์พระราชา; ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์; มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างและประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ รูปแบบการน้อมนำศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561และเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ของนักเรียนโรงเรียนราชประชาสมาสัย ฝ่ายมัธยม รัชดาภิเษก ในพระบรมราชูปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการน้อมนำศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นครูผู้สอนและนักเรียนโรงเรียนราชประชาสมาสัย ฝ่ายมัธยม รัชดาภิเษก ในพระบรมราชูปถัมภ์ปีการศึกษา 2563 จำแนกเป็น ครูผู้สอน 165 คน และนักเรียน จำนวน 342 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ใช้สถิติการทดสอบที (t-test) ในการทดสอบสมมติฐาน
                 ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้
                 1. รูปแบบการน้อมนำศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษา ตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักคิดด้านหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การใช้สื่อเทคโนโลยีและแหล่งเรียนรู้และการวัดประเมินผล การนำหลักสูตรไปใช้จัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561  2) หลักปฏิบัติด้านการเข้าใจ ประกอบด้วย การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน การพัฒนาและส่งเสริมนักเรียน และการส่งต่อนักเรียน เพื่อพัฒนาผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 3) หลักปฏิบัติด้านการเข้าถึง ประกอบด้วย การอบรมให้ความรู้ การนิเทศแบบเป็นกัลยาณมิตร การศึกษาดูงาน และการมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของบุคลากร เพื่อพัฒนาผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 4) หลักปฏิบัติด้านการพัฒนา ประกอบด้วย การจัดทำแผนกลยุทธ์ และการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี เพื่อพัฒนาผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 และ 5) หลักธรรมด้านการมีความสุขในการทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น ประกอบด้วยความพึงพอใจในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร เพื่อพัฒนาผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษา ตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561
                2. รูปแบบการน้อมนำศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2561 มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x}= 4.59, SD = .36)
                3. ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561 ของนักเรียนหลังการใช้รูปแบบการน้อมนำศาสตร์พระราชา ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมและรายด้านสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01

References

กรดา มลิลา. (2564). การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8 (2), 30-42.

กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2562). พฤติกรรมองค์การและการพัฒนาองค์การ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชัน.

ณัฐสรณ์ เกตุประภากร. (2564). วัฒนธรรมองค์กรยั่งยืนกับเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.

ธิตินัดดา สิงห์แก้ว. (2562). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้วงจร PDCA : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดป่าตึงห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา] มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

นิติพล ภูตะโชติ. (2560). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุปผาชาติ เข็มวิชัย. (2558). การพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน: กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านแม่ต๋อม อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่.[วิทยานิพนธ์ปริญญาคุรุศาสตรมหาบัณฑิต], มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

มารุต พัฒผล. (2562). แนวคิดหลักการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้. ศาสตร์พระราชาสู่การเรียนรู้ยุคไทยแลนด์ 4.0. (ม.ป.ป.). เข้าถึงได้จาก http://www.prathai.ac.th/webdesign/pt2-62/Data/satparacha.pdf, (2564, 15 กุมภาพันธ์).

ศาสตร์พระราชา. (ม.ป.ป.). เข้าถึงได้จาก http://gened.cmru.ac.th/ebook/pdf/GSOC2205-01.pdf, (2564, 15 กุมภาพันธ์).

สุกัญญา แช่มช้อย. (2565). การบริหารสถานศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรุ่นเยาว์. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

_________. (2565). การบริหารวิชาการที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคพลิกผัน (AcademicManagement Responsive to Change in the Disruptive Era). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ติรกานันท์. (2550). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: กรุงเทพฯ.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (สำนักงาน กปร.). (2565). หลักการทรงงาน ในพระบาทสมเด็จพระชนกาธิกาเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: บริษัท ธนอรุณการพิมพ์ จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แนวทางการนำมาตรฐานการศึกษาของชาติสู่การปฏิบัติสำหรับประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กลุ่มมาตรฐานการศึกษา สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

_________. (2562). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ.2561 , กรุงเทพฯ: กลุ่มมาตรฐานการศึกษา สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.(2554). นวมินทรมหาราชาธิราช พระผู้ทรงเป็นปราชญ์แห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์องค์การค้าของ สกสค.

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2565). แนวทางการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล. ฉบับปรับปรุง (พ.ศ.2565). กรุงเทพฯ: ไอเดีย แอนด์ พริ้นติ้ง.

_________. (2555). แนวทางการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล. ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ:ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). การจัดการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

Glickman Carl D. S.P. and Ross-Gordon, J.M. (2007). Supervision and Supervision and Curriculum Development. Instructional Leadership: A Developmental approach. (7th Ed.). Boston: Allyn & Bacon.Hord, S. M. (2010). Guiding professional learning communities: Inspiration, challenge, surprise, and meaning. Thousand Oaks, CA: Corwin Press.

Lavatelli, C.S., Walter, J.M. and Theodore, K. (1972). Elementary School Curriculum. New York: Holt, Rinehart and Winston.

Parkay, F.W., Hass, G.J. and Anctil E.J. (2010). Curriculum Leadership. 9th. Boston: Allyn & Bacon.

Ragan, W.B. and Gene, D.S. (1977). Modern Elementary Curriculum. 5th. New York: Holt,Rinehart and Winston.

Sergiovanni, T. (1994). Building community in school. San Francisco, CA; Jossey Bass.

Spears, Harold. (1967). Improving the Supervision of Instruction. New York :Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-16