ความต้องการจำเป็นของการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร

The Needs of Operating a Professional Learning Community for Teachers in Schools under The Sakon Nakhon Secondary Educational Service Area Office

ผู้แต่ง

  • ไพบูรณ์ เกตวงษา Paiboon Getwongsa, ชลธิชา กระแสศิล Cholticha Krasaesil สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร

คำสำคัญ:

ความต้องการจำเป็น; ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู; สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่ควรจะเป็นของการดำเนินงานชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) จำแนกตามกลุ่มโรงเรียน และ 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการดำเนินงาน PLC ตามความคิดเห็นของบุคลากรในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนครจำแนกตามกลุ่มโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยนี้ คือ บุคลากรทางการศึกษาจำนวน 633 คน จากโรงเรียน 45 แห่ง ซึ่งได้มาจากการเลือกตามความสมัครใจ โดยใช้แบบสอบถามที่ปรับปรุงมาจาก Oliver, et al. (2009: 5) เป็นเครื่องมือวิจัย ดำเนินการเก็บข้อมูลในช่วงเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพที่เป็นจริงของการดำเนินงาน PLC โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด กลุ่มโรงเรียนขนาดใหญ่มีค่าเฉลี่ยสภาพที่เป็นจริงโดยรวมสูงที่สุด ส่วนสภาพที่ควรจะเป็นของ PLC โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด กลุ่มโรงเรียนขนาดเล็กมีค่าเฉลี่ยสภาพที่ควรจะเป็นโดยรวมสูงที่สุด องค์ประกอบของ PLC ทั้งสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่ควรจะเป็นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด องค์ประกอบด้านการเรียนรู้แบบองค์รวมและการประยุกต์ใช้มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด  และ  2) การศึกษาดัชนีความต้องการจำเป็นของการดำเนินงาน PLC โดยวิธี PNImodified พบว่า ค่าดัชนีต้องการจำเป็นของกลุ่มโรงเรียนขนาดใหญ่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ซึ่งบ่งบอกถึงความต้องการของบุคลากรในโรงเรียนที่ต้องการให้เกิดการพัฒนาโรงเรียนไปสู่ความเป็น PLC ที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น    

References

จิณณภัทร พิบูลวิทิตธำรง. (2564). กลยุทธิ์การบริหารความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม].

จุฑามาศ คำผัด. (2560). ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารสถานศึกษาแบบ PLC ของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอแม่แจ่ม สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง].

ธัญญพร เลาหะเพ็ญแวง, สุวิมล ว่องวาณิช และ อวยพร เรืองตระกูล. (2556). การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นและการนำเสนอกระบวนการนำนโยบายวิจัยในชั้นเรียนสู่การปฏิบัติในโรงเรียน. วารสารวิจัย มสด สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, (9)2, 87-105.

นาถลดา บุษบง. (2563). สภาพชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์].

ปราณี ไชยภักดี และ รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (27-28 มีนาคม 2561). การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลาเขต 1. ใน รัชฎา คชแสงสันต์, การประชุมวิชาการระดับชาติ วลัยลักษณ์วิจัย ครั้งที่ 10 [Symposium].Walailak Procedia. มหาวิทยาลัยวลัยรักษ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช.

พงษ์ศักดิ์ สาลีกงชัย และ ศศิรดา แพงไทย. (2564). กลยุทธ์การพัฒนาสถานศึกษาสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์. Journal of MCU Nakhondhat, (6)8, 4133-4148.

พิชิต ขำดี และ ต้องลักษณ์ บุญธรรม. (2562). ความต้องการจำเป็นของการเป็นชุมชนแหงการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารศิลปากร, (39)2, 67-78

ไพบูรณ์ เกตวงษา. (2563). สภาพความเป็นอยู่ในครอบครัว ความมุ่งหวังด้านอาชีพ และระดับสติปัญญาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, (1)2, 188-196.

ไพบูรณ์ เกตวงษา, ชลธิชา กระแสศิล, ปราโมทย์ ภูมิพันธ์ และ มนตรี แย้มกสิกร. (2564). การขับเคลื่อนและพัฒนากระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, (1)3, 173-197.

มนตรี แย้มกสิกร. (2559). ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ: ความท้าทายต่อการเปลี่ยนตนเองของครู. ในการประชุมทางวิชาการของคุรุสภา ประจำปี 2559 เรื่อง การวิจัยนวัตกรรมการเรียนรู้และการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา

วสิษฐ์ สมจิตศรีปัญญา, จำเนียร พลหาญ และ อุรสา พรหมทา. (2564). รูปแบบการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม, Journal of Roi Kaensarn Academic, (6)10, 1-16.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. ตถาตาพลับลิเคชั่น.

วิริยะ วรายุ. (2559). การพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนบ้านดอนมูล (สุวรรณสาราษฎร์บำรุง) โดยการเทียบเคียงสมรรถนะกับโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร].

สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์ (2564) แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนในศตวรรษที่ 21. คุรุสภาวิทยาจารย์, (2)1, 1-15

สภาการศึกษา. (2564). ข้อเสนอระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคต ในปี ค.ศ. 2040. ห้างหุ้นส่วนจำกัด อีเลฟเล่น สตาร์ อินเตอร์เทรด.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2548). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวาณิช. (25-26 สิงหาคม 2561). การส่งเสริมกระบวนการ PLC ให้มีประสิทธิผล ใน สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์, การประชุมทางวิชาการของคุรุสภาประจำปี 2561 เรื่อง ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทาง วิชาชีพ: พลังครูขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาไทย. สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร. (2566). ข้อมูลสารสนเทศ กลุ่มการศึกษาทางไกลเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือการอบรมคณะกรรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) “ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ”สู่สถานศึกษาระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). รายงานประจำปี 2564 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

อมตา จงมีสุข. (2563). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต].

DuFour, R., & Eaker, R. (1998). Professional Learning communities at work: Best practices for enhancing student achievement. Bloomington, IN: Solution. Education Service.

DuFour, R. (2004). What is professional learning community? Educational Leaderships 61(8), 6-11.

Hord, S.M. (1997). Professional learning communities: Communities of continuous inquiry and improvement. Austin, TX: Southwest Educational Development Laboratory. (ERIC Document Reproduction Service No. ED410659)

Olivier, D. F., Antoine, S., Cormier, R., Lewis, V., Minckler, C., & Stadalis, M. (2009). Professional learning communities assessment–revised. Paper presented at the Annual Meeting of the Louisiana Education Research Association, Lafayette, LA.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-16