“วัจนกรรม” มิติใหม่ในการเรียนการสอนภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา : ผลการจัดการเรียนรู้รูปแบบการใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับบทบาทสมมติ เรื่อง การวิเคราะห์วัจนกรรม สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
‘Speech Acts’ The New Dimension of Thai Language Teaching in High School :The Effect of Learning Management using Problem - Based Learning and Role Play Activity on ‘Speech Acts Analysis’ Unit to Grade 12th Students
คำสำคัญ:
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน; บทบาทสมมติ; วัจนกรรม; วิชาภาษาไทยบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับกิจกรรมบทบาทสมมติ เรื่อง การวิเคราะห์วัจนกรรม และ 2) ประเมินความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับบทบาทสมมติ เรื่อง การวิเคราะห์วัจนกรรม กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 28 คน เป็นการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับกิจกรรมบทบาทสมมติ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังการเรียนรู้ และ 3) แบบประเมินความคิดเห็นของนักเรียน จากนั้นหาคุณภาพเครื่องมือโดยให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินค่าดัชนีความสอดคล้อง และคัดเลือกเฉพาะข้อที่มีค่า 0.67 – 1.00 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ฯ จำนวน 4 แผน รวมทั้งสิ้น 6 คาบเรียน จากนั้นทดสอบหลังเรียน และนำข้อมูลมาวิเคราะห์
ด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า
แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับกิจกรรมบทบาทสมมติ เรื่อง การวิเคราะห์วัจนกรรม ส่งผลให้นักเรียนสามารถวิเคราะห์ ถ้อยคำเจตนาแอบแฝงในการสื่อสารได้และสามารถเลือกสรรถ้อยคำที่มีความสุภาพในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมตามกาลเทศ โดยแผนการจัดการเรียนรู้
(E1) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 76.78 ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียน (E2)มีค่าเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 77.15 จึงสรุปได้ว่าแผนการจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.78 /77.15 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 75/75 ส่วนผลความคิดเห็นของนักเรียนในภาพรวมพบว่ามีผลในระดับมาก (µ =4.45 , SD = 0.69)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน.พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่3). สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.
กิตติพงษ์ วงศ์ทิพย์. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีวัจนปฏิบัติศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านตีความของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
คะเณยะ อ่อนนาง. (2561). บทบาทครูในศตวรรษที่ 21 กับการเรียนการสอนแบบ Active Learning. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
จุฑามาศ กุลศรีโล. (2565). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อประสมเรื่องประโยคเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 16(3), 38-47.
ชิดธิณัฐ คอมแพงจันทร์. (2564). การใช้บทบาทสมมติเพื่อพัฒนาความรู้ด้านวรรณคดีและวรรณกรรมไทยกรณีศึกษา: นักศึกษาแลกเปลี่ยนสาขาภาษาไทยจาก Yunnan Normal University and Business School. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 28(2), 191-216.
ณัชชา อ่อนสัมพันธุ์. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานที่มีต่อทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อสื่อสารสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. [การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณัฐชญา บุปผาชาติ. (2561). การใช้กิจกรรมบทบาทสมมติเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่16). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพศาล สุวรรณน้อย. (2559). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem–based Learning: PBL). เอกสารประกอบการบรรยายโครงการพัฒนาการเรียนการสอน สถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ฝ่ายวิชาการ. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
มณีกานต์ สิริพัชรสกุล. (2557). บทบาทสมมติและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในบริบทของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดปทุมธานี. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรังสิต.
รุ่งฤทัย จตุรภุชพรพงศ์. (2555). ปัจจัยที่ส่งเสริมการแสดงมารยาทไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ละมัย สายสินธุ์ (2552) ผลการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยด้านการอ่านออกเสียง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้นิทานพื้นบ้านประกอบการจัดกิจกรรมด้วยบทบาทสมมติ. [การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วาโร เพ็งสวัสด์. (2546). การวิจัยในชั้นเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 1). โรงพิมพ์สุวีริยาสาส์น .
วิฑูรย์ เมตตาจิตร. (2558). วัจนกรรมการตำหนินักเรียนของครูในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ศิวดล วราเอกศิริ. (2556). วัจนกรรมเกี่ยวกับความสุภาพและแนวคิดเรื่องหน้ากับการคุกคามหน้าของตัวละครในรามเกียรติ์. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 33(1), 175 – 213.
สมชาย รัตนทองคำ. (2556). ทฤษฎีการเรียนรู้พื้นฐาน. เอกสารประกอบการสอน 475788 การสอนทางกายภาพบำบัด ภาคต้นปีการศึกษา 2556. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สมฤดี วิศทเวทย์. (2546). ปรัชญาภาษา. http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~wsomrudi/Speechact.pdf
สุชาดา ทิพย์มนตรี. (2556). ประสิทธิผลของการใช้การแสดงบทบาทสมมติในการสอน "ภาษาอังกฤษเพื่อการบริการ". คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สุภาภรณ์ ทาศิริ. (2562). การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 โรงเรียนสมุทรปราการ ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานกับการสอนแบบปกติ.http://www.edu-journal.ru.ac.th/AbstractPdf/2562-4-1_1593694823_6112610025.pdf
อนุชิณ ตาปราบ. (2566). การจัดการเรียนรู้แบบบทบาทสมมติที่มีผลต่อความสามารถในการสนทนาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม,17(3), 375 - 384.
Livingstone, C. (1985). Role Play in Language Learning. Longman Handbooks for Language Teachers.