การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียน โรงเรียนอุดมวิทยายน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง
Development of Educational Institution Administration Models to Strengthen Public Consciousness of Students of Udomvittayayon School under The Jurisdiction of The Phatthalung Secondary Educational Service Area Office
คำสำคัญ:
การบริหารสถานศึกษา; จิตสาธารณะ; เสริมสร้างจิตสาธารณะบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และแนวทางการเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียน 2) พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียน และ 3) ประเมินผลการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียน โดยมีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน และแนวทางการเสริมสร้างจิตสาธารณะ ประชากร ได้แก่ ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.918 และแบบสัมภาษณ์ ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมิน ขั้นตอนที่ 3 การประเมินผลการพัฒนารูปแบบ ประชากร ได้แก่ ครู และนักเรียน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสังเกต และแบบสอบถามความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.923 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพปัจจุบัน นักเรียนมีจิตสาธารณะอยู่ในระดับดี
2) รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และเงื่อนไขความสำเร็จ รูปแบบมีความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้อง อยู่ในระดับมากที่สุด
3) การประเมินผลการพัฒนารูปแบบ พบว่า ก่อนทดลองนักเรียนมีจิตสาธารณะอยู่ในระดับปานกลางและหลังการทดลองนักเรียนมีจิตสาธารณะอยู่ในระดับดีเยี่ยม และความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
กวี วรกวิน. (2560). บทบาทและหน้าที่ของเยาวชนที่มีต่อสังคม และประเทศชาติ โดยเน้นจิตสาธารณะ หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด.
กิตติภพ สารโพคา. (2563). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนนาเดื่อพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2562). พฤติกรรมองค์การและการพัฒนาองค์การ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
เกษสุดา พุธทะลา. (2562). การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนประถมศึกษาโรงเรียนเอกชน จังหวัดชัยภูมิ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จิราภรณ์ ไชยกมล. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จันทรัตน์ สารีคำ. (2563). การพัฒนากิจกรรมเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา.[วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
ชิรวัฒน์ นิจเนตร. (2560, กรกฎาคม – ธันวาคม). การวิจัยพัฒนารูปแบบทางสังคมศาสตร์และการศึกษา.วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 4(2), 71-102.
ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2561). การวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
ธนวรรณ เห็มบาสัตย์ (2566). การพัฒนารูปแบบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
นันทญา พ่วงประจง. (2561). ผลของกิจกรรมแนะแนวตามแนวพรหมวิหาร 4 เพื่อพัฒนาจิตสาธารณะสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถม 5 โรงเรียนวัดบำรุงรื่น. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปิยะธิดา วรญาโณปกรณ์ (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้จิตสาธารณะสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตภาคตะวันออก. วารสาร “ศึกษาศาสตร์ มมร” คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 8(1), 125-136.
พัฒนา พรหมณี ศรีสุรางค์ เอี่ยมสะอาด และปณิธาน กระสังข์. (2560). แนวคิดการสร้างและพัฒนารูปแบบเพื่อใช้ในการดำเนินงานด้านการสาธารณสุขสำหรับนักสาธารณสุข, 6(2), 128-135.
พิเชษฐ์ ศรีสุข. (2558). จิตสาธารณะ : คืนความยั่งยืนสู่มนุษยชาติ. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, 2(2), 64-83.
รวีวรรณ วงค์เดชานันทร์. (2563). รูปแบบการส่งเสริมจิตสาธารณะเชิงพุทธของบุคลากรมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. [ดุษฎีนิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รังสรรค์ เกิดศรี. (2566). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 2(6), 76-90.
วิโรจน์ เฉลยสุข. (2561). การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้จิตสาธารณะ. งานวิจัยรับทุนสนับสนุนการวิจัย สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
ศตวรรษ มะละแซม. (2563). การพัฒนาหลักสูตรเสริมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ ตามแนวคิดการเรียนรู้รับใช้สังคม และการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี. [วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สิริธร ยิ้มประเสริฐ (2562). การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาเพื่อส่งเสริมจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
สิน งามประโคน และคณะ. (2562). การบริหารการศึกษา: แนวคิด ทฤษฎีและรูปแบบการบริหารจัดการ. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 6(3), 134-146.
สัมมา รธนิธย์. (2560). หลักทฤษฎีและปฏิบัติการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.