สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ของโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดหนองคาย
The Current States and Desirable States of Area – based Education of Primary Schools in Nong Khai Province
คำสำคัญ:
สภาพปัจจุบัน, สภาพที่พึงประสงค์, ความต้องการจำเป็น, การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์องค์ประกอบการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และ 3) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดหนองคาย โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมสาน ได้แก่ การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์
และสังเคราะห์เนื้อหาการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิให้ข้อมูลแบบตัวต่อตัว จำนวน 5 คน และการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 159 คน ซึ่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดหนองคาย โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบของการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดหนองคาย ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การสร้างความร่วมมือและการมีส่วนร่วม 2) การพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศและนวัตกรรมการศึกษา 3) การเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรทางการศึกษา 4) การกระจายอำนาจและความมีอิสระในการบริหารจัดการศึกษา 5) การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ และ 6) การสร้างระบบการประเมินที่ดี
2. สภาพปัจจุบันของการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ อยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด
3. เมื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น พบว่า การสร้างความร่วมมือและการมีส่วนร่วม มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด รองลงมาคือ การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ การเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรทางการศึกษา การสร้างระบบการประเมินที่ดี การกระจายอำนาจและความมีอิสระในการบริหารจัดการศึกษา และการพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศและนวัตกรรมการศึกษา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการบริหารโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย
________. (2564). ดัชนีทางการศึกษา ระดับภาค 1-18. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
กล้า ทองขาว. (2558). การจัดการศึกษาแบบยึดพื้นที่เป็นฐาน: แนวคิด แนวทาง และกรณีศึกษา. วารสารราชภัฎสุราษฎร์ธานี, 2(2), 26-27.
เกสรี ลัดเลีย และคณะ. (2559). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการการวิจัยและพัฒนาเครือข่ายการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อการพัฒนาความสามารถด้านภาษาของเด็กในจังหวัดยะลา. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2562). รายงานเฉพาะเรื่องที่ 10 การปรับโครงสร้างในระบบ การศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
เชียรช่วง กัลยาณมิตร และคณะ. (2558). รายงานผลการศึกษาเรื่องเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดหนองคาย. เอกสารประกอบการสัมมนาโครงการประชุมสัมมนากำหนดกรอบการทำงานในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษตามนโยบายของรัฐบาล ประจำปีงบประมาณ 2558 เดือน มิถุนายน 2558 ณ ที่ทำการปกครองจังหวัดหนองคาย.
จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์. (2560). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประสานงานวิจัยและพัฒนาการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ (Area-based Education-ABE). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
มนต์นภัส มโนการณ์. (2561). การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานกับการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 19(1), 1-15.
สีลาภรณ์ บัวสาย. (2552). พลังท้องถิ่น: บทสังเคราะห์งานวิจัยด้านชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
______. (2557). งานวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่ (Area based collaborative research) กับการสร้างความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่, 6(3), 123-127.
สุพีรพัชร์ พิมพ์มาศ. (2561). ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่. วารสารโพธิวิจัย, 2(2), 16-37.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2554). ทฤษฎีการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โศจิรัตน์ เติมศิลป์ และประชาสรรค์ แสนภักดี. (2562). แนวทางการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ กรณีศึกษาจังหวัดหนองคาย. วารสารการเมืองการปกครอง, 9(3), 131-145.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). รายงานการวิจัยแนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพรอมศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
______. (2559). รูปแบบการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่: บทเรียน ทางเลือก และเงื่อนไขความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
______. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
______. (2561). สภาวะการศึกษาไทยปี 2559/2560 แนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อก้าวสู่ยุค Thailand 4.0. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
______. (2563). สภาวการณ์การจัดการเรียนรู้เชิงพื้นที่ในบริบทประเทศไทย. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อมรวิชช์ นาครทรรพ. (2564). ความสำคัญและทิศทางใหม ๆ ในการจัดการศึกษาของท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2564, จาก http://www.slideplayer.in.th/slide/2843294/.
อัมพร พินะสา. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาโดยใช้ท้องถิ่นเป็นฐานของสถานศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
Conbrach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. 5th ed. New York: Harper Collins.
Facer, K. (2009). Towards an area based curriculum. RSA Projects Education.
Farrell, T., & Waatainen, P. (2020). Face-to-face with place: Place-based education in fraser canyon. Canadian Social Studies, 51(2), 1-17.
Gilbert, C. (2017). Optimism of the will: The development of local area-based education partnerships. London: London Centre for Leadership in Learning.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Orr, D. W. (1994). Earth in mind: On education, environment, and the human prospect. Washington: Island Press.
Scriven, M., & Roth. (1995). Evaluation as a discipline. Studies in Educational Evaluation, 20(5), 147-166.
Stufflebeam, D. L. (1997). Education evaluation and decision-making. Itasca, II: F.E.
Trimby, M. J. (1979). Needs assessment models: A comparison. Educational Technology, 19(12), 24-28.