การพัฒนานวัตกรรมเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม และธรรมาภิบาลของสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Innovation Development Strengthens Morality and Ethics and Good Governance of Educational Institutions and Educational Service Area Offices Under the Office of the Basic Education Commission

ผู้แต่ง

  • จักรพงษ์ วงค์อ้าย Chagkrabongse Wong-Eye สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

คำสำคัญ:

นวัตกรรม ; เสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม ; ธรรมาภิบาล

บทคัดย่อ

           งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและแนวทางการดำเนินงานเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม และธรรมาภิบาลของสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 2) สร้างนวัตกรรมการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม และธรรมาภิบาล  ของสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ใช้นวัตกรรมการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม และธรรมาภิบาลของสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 - 2565 และ 4) ประเมินและปรับปรุงนวัตกรรมการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม และธรรมาภิบาลของสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาสภาพและแนวทางการดำเนินงานรายงานผลการปฏิบัติงานโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้รับผิดชอบโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 245 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูลและแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และมาตรประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ผลการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) การประเมินความเหมาะสมความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ใช้การวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย (μ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ)                                                                             ผลการวิจัย พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำนวัตกรรมลงสู่การปฏิบัติว่าสามารถนำไปปฏิบัติได้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เล่มที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ เล่ม 5 คู่มือประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ เล่ม 9 แนวทางการดำเนินกิจกรรมสร้างสรรค์ต่อต้านการทุจริตผ่านสื่อภาพยนตร์สั้น อยู่ในระดับมากที่สุด เล่มที่ 3 แนวทางการดำเนินกิจกรรมเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนสุจริต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุจริต และเล่ม 13 แนวทางการดำเนินกิจกรรมค่ายเยาวชน “คนดี ของแผ่นดิน” อยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งนี้ ภาพรวมด้านความเหมาะสม อยู่ในระดับ มากที่สุด  ด้านความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด  และด้านความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด 

References

ฐิติมา พูลเพชร, วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และจันทนา แสนสุข. (2561). “การสร้างวัฒนธรรมนวัตกรรมในองค์การ: ปัจจัยเชิงสาเหตุและผลลัพธ์.” วารสารวิชาการศิลปะประยุกต์, 11(2), 14-16.

นวชล สมบูรณ์สิน. (2564). รูปแบบการจัดการนวัตกรรมทางการบริหารในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. [วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. (2560). ประกาศผลการประเมินโรงเรียนสุจริตพระราชทานด้านความโปร่ง. จาก http://web.uprightschool.net/hnangsuxrachkar/prakasphlkarprameinrongreiynsucritphrarachthandankhwamporngsi

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2547). การจัดการนวัตกรรมสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561- 2580. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา. (2558). แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนสุจริต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา. (2559). คู่มือแบบประเมินโรงเรียนสุจริตพระราชทานด้านความโปร่งใส. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา. (2559). แนวทางการดำเนินกิจกรรมเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนสุจริต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุจริต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา. (2559). แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนสุจริต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา. (2559) รายงานผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา. (2561). คู่มือหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

อ่อนจันทร์ นุชบูรณ์. (2560). การบริหารสำนักงานอัตโนมัติกับผลการปฏิบัติงานในสถานศึกษา. [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Venkataraman, S. (2020). “State of Moral Stories in School Curriculum” International Journal of Academic Research Reflector. 9(5), 5 – 6.

Wikipedia. (2016). Innovation. [Online]. Available: https://en.wikipedia.org/wiki/Innovation

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-16