ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพที่มีต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อน ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

อภิชัย คุณีพงษ์

บทคัดย่อ

          โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาคุกคามสุขภาพและคุณภาพชีวิต ดังนั้น  จึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่เหมาะสมเพื่อช่วยลดโอกาสในการเกิดภาวะแทรกซ้อน การวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้นแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพที่มีต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มทดลองเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 3 บ้านคาง ตำบลบางกระบือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี จำนวน 45 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้นและผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละและสถิติ Paired t-test ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันภาวะแทรกซ้อนและพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนภายหลังการทดลองทันทีกับภายหลังการทดลอง 1 เดือน พบว่า ไม่แตกต่างกัน สะท้อนให้เห็นผลของโปรแกรมที่มีต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างชัดเจน ดังนั้น จึงสามารถนำโปรแกรมนี้ไปใช้ใน   การส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงต่อไป


            Hypertension is a chronic disease that can threat health and quality of life on people. Therefore, promoting appropriate self-care is important for reduce risk of having complications. Pre-experimental design, one group pretest-posttest design was used in the study. The aim of this study was to examine the effects of health promotion program on preventive behaviors affecting complications of hypertensive patients in Moo 3 Ban Khang, Tambon bangkrabue, Samkhok district, Pathum Thani Province. Thirty hypertensive patients who met the inclusion criteria were selected for the program. Data were collected by using questionnaire constructed by the researcher and analyzed by using means, percentages and paired t - test. The results of this study revealed that after interventions, a mean score of knowledge on hypertension, perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefits, and preventive behaviors affecting complications were statistically significantly higher than the mean score before interventions (p < 0.01). Their average Preventive behaviors affecting complications scores right after interventions and one month thereafter did not change. In conclusions, the health promotion program in this research could help enhancing participants’ perceived susceptibility, severity, and benefits of their illness, and improve participants’ preventive behaviors affecting complications. Therefore, this program should be applied to other hypertensive patients in other communities.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา เพ็งเหล็ง, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, สุปรียา ตันสกุล และ นิรัตต์ อิมามี. (2556). ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองและการสนับสนุนทางสังคมในพฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. วารสารสุขศึกษา, 36 (123), 37-50.
รัตนา เรือนอินทร์. (2550). ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมควบคุมโรคของผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ในศูนย์สุขภาพชุมชนเครือข่ายโรงพยาบาลลี้ จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางกระบือ. (2560). รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพของประชาชนตำบลบางกระบือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี.
สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2555). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป, 8 กุมภาพันธ์ 2560. http://www.thaihypertension.org.
สำนักงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2559). รายงานประจำปี 2559. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
สุกัญญา เหมะ. (2553). ปัจจัยทำนายการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง.
วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุธีรา ฮุ่นตระกูล และ วิไลพรรณ สมบุญตนนท์. (2555). การพัฒนาศักยภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน. วารสารพยาบาลทหารบก, 13 (3), 38-46.
สุนทรีย์ คำเพ็ง และ อรธิรา บุญประดิษฐ์. (2557). ผลของการจัดโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับ การสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง หมู่ที่ 9 ตำบลดงตะงาว อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 13 (3), 112-123.
สุวิชา ชุ่มชื่น, นิรัตต์ อิมามี และ มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์. (2555). โปรแกรมส่งเสริมความสามารถตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารสุขศึกษา, 35 (121), 45-60.
อภิชัย คุณีพงษ์. (2556). การพัฒนาหลักสูตรการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้นำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 8 (1), 1-12.
Becker, M. H., and Maiman. (1974). A new approach to explaining sick role behavior in low income population. American Journal of Public health, 3: 330-336.
Stamler, J., Stamler, R., and Neaton, J. D. (1993). Blood pressure, systolic and diastolic, and cardiovascular risks. U.S population data, Arch Intern Med, 153, 598-615.
World Health Organization. (2012). World Heath Statistics 2012. Retrieved February 8, 2017, from: http:// www.who.int.