ประสิทธิภาพการดูดซับโครเมียมเฮกซาวาเลนต์ (VI) โดยใช้ถ่านกัมมันต์

Main Article Content

รัตนาภรณ์ อาษา
อภิเชษฐ์ จำเนียรสุข
พิชสุดา เดชบุญ

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการดูดซับ และไอโซเทอมของการดูดซับ โครเมียมเฮกซาวาเลนต์ (VI) ในน้ำเสียสังเคราะห์และน้ำเสียจากห้องปฏิบัติการ โดยใช้ถ่านกัมมันต์เป็นตัวดูดซับ ด้วยวิธีการแบบทีละเท ซึ่งทำการศึกษาที่ความเข้มข้นของโครเมียมเฮกซาวาเลนต์ (VI) เริ่มต้นเท่ากับ 10 มิลิกรัมต่อลิตร มีค่าพีเอชตั้งแต่ 1-6 ระยะเวลาการดูดซับที่ใช้ 0-300 นาที และถ่านกัมมันต์ที่ใช้ในการดูดซับเท่ากับ 0.2 กรัม  


            ผลการทดลองพบว่า ประสิทธิภาพในการดูดซับโครเมียมเฮกซาวาเลนต์ (VI) ในน้ำเสียสังเคราะห์โดยใช้ถ่านกัมมันต์ พบว่าพีเอชที่เหมาะสม คือ พีเอชเท่ากับ 3 มีประสิทธิภาพการกำจัดโครเมียม (VI) ร้อยละ 99.70 คิดเป็นปริมาณโครเมียมเฮกซาวาเลนต์ (VI) ที่ถูกดูดซับประมาณ 4.544 มิลิกรัมต่อกรัมของถ่านกัมมันต์ โดยระยะเวลาที่เข้าสู่สมดุล คือ 90 นาที เมื่อพิจารณาค่าไอโซเทอมการดูดซับโครเมียมเฮกซาวาเลนต์ (VI) ในน้ำเสียสังเคราะห์และน้ำเสียจริงจากห้องปฏิบัติการที่ความเข้มข้นในช่วง 1-100 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่าทั้งในน้ำเสียสังเคราะห์และน้ำเสียจากห้องปฏิบัติการสอดคล้องกับสมการแบบแลงเมียร์ โดยมีค่าการดูดซับสูงสุดที่เกิดขึ้นแบบชั้นเดียว (มิลลิกรัมต่อกรัม) และค่าคงที่สมดุลของการดูดซับ (ลิตรต่อมิลลิกรัม) เท่ากับ 17 และ 0.024 ในน้ำเสียสังเคราะห์ ส่วนน้ำเสียจากห้องปฏิบัติการมีค่าเท่ากับ 11.58 และ 0.023


          The purpose of experimental study was to explore the efficiency of hexavalent chromium (Cr6+) by activated carbons and adsorption isotherm in synthesis wastewater and laboratory wastewater by employing batch adsorption technique. The initial hexavalent chromium (Cr6+) of concentration at 10 mg/L, pH value in solution was in the range 1-6, contact time in the range 0-300 min and activated carbons was 0.2 g.


            The optimum conditions of hexavalent chromium (Cr6+) occurred at pH of 3 respectively, where the adsorption reached equilibrium within 90 min, the maximum efficiency was 99.70% and adsorption quantities was 4.544 mg/g of activated carbons. The adsorption data was correlated to Langmuir isotherm. The maximum adsorption capacities (monolayer adsorption, qm) for hexavalent chromium (Cr6+) in synthesis wastewater was 17 mg/g and adsorption constants was 0.024 L/mg. And laboratory wastewater was 11.58 mg/g and 0.024 L/mg.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2558). สถิติการร้องเรียนปัญหามลพิษ ปี 2558. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2560, จาก http://www.pcd.go.th/info_serv/pil2_stat2558.html.
กรมควบคุมมลพิษ. (2559). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2559. กรุงเทพมหานคร: กรมควบคุมมลพิษ.
โกวิทย์ ปิยะมังคลา, จารุวรรณ ตาฬวัฒน์, ปิยวัฒน์ โพธิมงคลกุล และฉัฐรส คงสมภักดิ์. (2551). จนลศาสตร์การดูดซับโครเมียม (VI) จากโรงงานชุบโลหะโดยใช้ไคโตซานเรซิน. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 18(1), 68-79.
จีระฉัตร ศรีแสน. (2560). ผลกระทบของโครเมียม และสารประกอบโครเมียมต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ, 60(189), 10-12.
มลิวรรณ บุญเสนอ. (2549). พิษวิทยาสิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 4. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รวินิภา ศรีมูล. (2559). การบำบัดสีย้อมในน้ำเสียด้วยกระบวนการดูดซับ. วารสารวิทยาซาสตร์ มข., 44(3), 419-434.
รอฮานา อาดาม และอุษา อ้นทอง. (2553). ประสิทธิภาพการดูดซับโลหะหนัด โดยใช้ถ่านและถ่ายกัมมันต์ที่เตรียมจากเปลือกมังคุด. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 13(3), 94-103.
วราภรณ์ ศรีภักดี และโกวิทย์ ปิยะมังคลา. (2555). การดูดซับโลหะหนักโดยใช้ถ่ายกัมมันต์จากเหง้ามันสำปะหลัง. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ม, (1).
ศุภมาศ ด่วนวิทยากุล และอารี ธนบุญสมบัติ. (2556). คุณรู้จัก “เฮกซะวาเลนต์โครเมียม” สารอันตรายใกล้ตัวแล้วหรือยัง?. ปทุมธานี: ศูนย์เทคโนโลยีและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค).
ศูนย์สารสนเทศเทคโนโลยีโรงงานอุตสาหกรรม. (2558). สรุปโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาตประกอบ กิจการ. กรุงเทพมหานคร: กรมโรงงานอุตสาหกรรม.
Hassler J. W. (1963). Activated Carbon. New York: Chemical Publishing Co., Inc.