ทัศนคติต่อการคุมกำเนิดของนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

อภิเชษฐ์ จำเนียรสุข
รัตนาภรณ์ อาษา
พิชสุดา เดชบุญ
ภูวสิทธิ์ ภูลวรรณ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการคุมกำเนิดของนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 300 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือคือ แบบสอบถาม ช่วงวันที่ 1 ตุลาคม ถึง 30 พฤศจิกายน พ..2559 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ด้วยสถิติไคสแควร์


            ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาหญิงมีทัศนคติต่อการคุมกำเนิดอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 56.7 โดยเห็นด้วยว่าการคุมกำเนิดเป็นสิ่งสำคัญและสามารถช่วยป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนได้ รองลงมามีทัศนคติต่อการคุมกำเนิดอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 43.3 ซึ่งปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการคุมกำเนิดของนักศึกษาหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ได้แก่ ความรู้ต่อการคุมกำเนิดและความกลัวต่อการคุมกำเนิด (p-value<0.05)  โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีความรู้อยู่ในระดับสูงจะมีโอกาสที่มีทัศนคติเห็นด้วยกับการคุมกำเนิดอยู่ในระดับสูง และกลุ่มตัวอย่างที่มีความกลัวต่อการคุมกำเนิดอยู่ในระดับต่ำจะมีโอกาสที่มีทัศนคติเห็นด้วยกับการคุมกำเนิดอยู่ในระดับสูง


           ผลจากการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการจัดรูปแบบกิจกรรมหรือการดำเนินงานในหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอนามัยเจริญพันธุ์ในวัยรุ่น ในด้านการป้องกันและส่งเสริมการคุมกำเนิดต่อไป


            The purpose of a cross-sectional survey study was to explore the attitudes towards birth control among female students of university in Pathum thani province and related factors. The sample consisted of 300 people with stratified sampling. Data collection were accomplished with questionnaire from 1 October to 30 November 2016. The statistics used descriptive statistics, Chi-square test.


             The results revealed that the attitudes towards birth control were high level (56.7%), that accept to birth control was impotence for sexual prevention among teen age. The second factors were significantly associated with attitudes, namely, knowledge of birth control and scare for birth control (p-value<0.05). However, the knowledge of birth control were high level, which mean the attitudes towards birth control were high level. The scare for birth control were low level, which mean the attitudes towards birth control were high level.


            The findings lead to recommendations that organization should have well-planned activities to birth promotion and prevention for teen age.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย. (2556). แม่วัยใส ความท้าทายการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. สมุทรปราการ: แอดวานส์ปริ้นติ้งจำกัด.
จตุวิทย์ หอวรรณภากร วีระพงษ์ ประยูรเสถียร สาวิตรี ตันเจริญ. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทัศนคติกับการปฏิบัติตนในเรื่องการคุมกำเนิดของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร (รายงานผลการวิจัย). พิษณุโลก :มหาวิทยาลัยนเรศวร.
บุญฤทธิ์ สุขรัตน์. (2557). การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น : นโยบาย แนวทางการดำเนินงาน และติดตามประเมินผล. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนบุรี : กระทรวงสาธารณสุข.
บุรเพท โชคธนากุล กมลชนก ขำสุวรรณ. (2559). การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ผลกระทบทางสังคมจากมุมมองเรื่องเพศของแม่ต่างรุ่น. วารสารประชากร. 4(2), 61-79.
เปรมยุดา นาครัตน์ รัตน์ศิริ ทาโต. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ แรงจูงใจ และทักษะในการคุมกำเนิดกับพฤติกรรมการคุมกำเนิดของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงวัยรุ่นในเขตภาคใต้ตอนบน. วารสารพยาบาล, 62 (3), 29-36.
ธิติกาญจน์ เลิศหิรัญวงษ์. (2557).การคุมกำเนิดในวัยรุ่น. สืบค้น 18 พฤศจิกายน 2559, จาก
http://www.medicine.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=914:2013-11-20-05-49-00&catid=45:topic-review&Itemid=561
ศรีเพ็ญ ตันติเวสส ทรงยศ พิลาสันต์ อินทิรา ยมาภัย ยศ ตีระวัฒนานนท์ ชลัญธร โยธาสมุทร อภิญญา มัตเดช ณัฐจรัส เองมหัสกุล. สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในประเทศไทย 2556. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข : นนทบุรี.
สำนักอนามัยเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2560). สถิติการคลอดของแม่วัยรุ่นประเทศไทย ปี พ.ศ.2558. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด : กรุงเทพฯ.
อนงค์ ประสาธน์วนกิจ ประณีต ส่งวัฒนา บุญวดี เพชรรัตน์. ความเชื่อเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ และรูปแบบพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นและเยาวชนในสถานศึกษาจังหวัดสงขลา. สงขลานครินทร์เวชสาร. 27(5), 369-80.
Daniel W W. Biostatistics: Basic Concept and Methodology for the Health Sciences. 9th ed. Asia: Wiley& Sons, Inc.; 2010.