ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของอาการปวดข้อเข่าของผู้สูงอายุ ในอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

กฤติเดช มิ่งไม้
ฉันท์ชนก อินทร์ศรี

บทคัดย่อ

           การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาระดับความรุนแรงของอาการปวดข้อเข่าและหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับความรุนแรงของอาการปวดข้อเข่าของผู้สูงอายุ ในอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในอำเภอผักไห่ จำนวน 268 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2559 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ 1.) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล 2.) แบบประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน 3.) แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ และ 4.) แบบประเมินความรุนแรงของการปวดข้อเข่าในผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับความรุนแรงของอาการปวดข้อเข่าอยู่ในระดับรุนแรงน้อย (ร้อยละ 44.8) รองลงมาคือ รุนแรงปานกลาง ไม่รุนแรง และรุนแรงมาก (ร้อยละ 36.6, 14.9 และ 3.7 ตามลำดับ) เมื่อวิเคราะห์แบบถดถอยพหุแบบขั้นตอน พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของอาการปวดข้อเข่าของผู้สูงอายุ ได้แก่ ผู้สูงอายุตอนกลาง (OR=1.26, 95% CI= 1.44-2.29, p=0.003), ผู้สูงอายุตอนปลาย (OR=3.13, 95% CI=1.88-11.04, p=0.001), ภาวะน้ำหนักเกิน/ภาวะอ้วน (OR=1.39, 95% CI=2.29-4.88, p=0.032) พฤติกรรมการดูแลตนเองเกี่ยวกับอาการปวดข้อเข่าระดับปานกลาง (OR=2.53, 95% CI=1.56-4.18, p=0.004) พฤติกรรมการดูแลตนเองเกี่ยวกับอาการปวดข้อเข่าระดับต่ำ (OR=2.61, 95% CI=1.53-4.87, p=0.002) และความไม่สม่ำเสมอในการมารับบริการ (OR= 4.76, 95% CI= 1.66-13.63, p=0.004) ผลจากการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการวางแผนป้องกันและควบคุมการเกิดอาการปวดข้อเข่า เพื่อช่วยให้ลดการเกิดอาการปวดข้อเข่าและส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป


          The study was a cross-sectional study aimed to investigate the severity of knee pain and the associated factors among older people in Phak Hai district, Phra Nakorn Si Ayutthaya province. The samples consisted 268 older people who were lived in Phak Hai district. The subjects were recruited by cluster sampling based on the inclusion criteria between May and December 2016. The data were collected using a structural interview. The instruments consisted of Four Parts: 1.) questionnaire for demographic data, 2.) Barthel Activities of Daily Living Index, 3.) Self-care behavioral of knee pain assessment and 4.) The severity of knee pain Assessment. Data were analyzed by using descriptive statistics and multiple regressions analysis. The result revealed that the older people had a mild level severity of knee pain, followed by moderate level, non-severity and high level of severity of knee pain. By the multiple regression analysis, factors which remained significantly related with severity of knee pain in older people were middle-old age (OR=1.26, 95% CI=1.44-2.29, p=0.003), early-old age (OR=3.13, 95% CI=1.88-11.04, p=0.001), obesity/overweight (OR=1.39, 95% CI=2.29-4.88, p=0.032), moderate level of self-care behavior of knee pain (OR=2.53, 95% CI=1.56-4.18, p=0.004), low level of self-care behavior of knee pain (OR=2.61, 95% CI=1.53-4.87 p=0.002) and intermittently of health service (OR= 4.76, 95% CI= 1.66-13.63, p=0.004). The finding suggest that should be lead to planning and control knee pain in order to reduce severity of knee pain and promote better quality of life of the older people.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นงพิมล นิมิตอานันท์. (2557). สถานการณ์ทางระบาดวิทยาและการประเมินความเสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อมในคนไทย. วารสารพยาบาลทหารบก, 15 (3), 185-194.
พิพัฒน์ เพิ่มพลู (2553). ความรุนแรงของโรคและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลศิริราช. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการสังคมและการจัดการระบบสุขภาพ, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (2553). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ทีคิว พี จำกัด.
ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย. (2554). แนวปฏิบัติบริการสาธารณสุขโรคข้อเข่าเสื่อม พ.ศ. 2554. แหล่งข้อมูล www.rcost.or.th เข้าถึง ข้อมูลเมื่อ 1 กันยายน 2559.
วิมล วงศ์หนู. (2553). ภาพสุขภาพของผู้สูงอายุที่เข้าอยู่รักษาในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง. ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วรรณภา ศรีธัญรัตน์.(2554). การพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาปวดข้อเข่าของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบากอำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 34 (4), 46-55.
แววดาว ทวีชัย.(2543). ความรุนแรงของโรคและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในโรงพยาบาลศิริราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต การพยาบาลผู้สูงอายุ,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สารเนตร์ ไวคกุล และคณะ. (2553). แนวปฏิบัติบริการการดูแลรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม พ.ศ. 2553.กรุงเทพมหานคร : ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2559). สารประชากร 2559 : มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. ( 2557). รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2557 (พิมพ์ครั้ง
ที่ 5). กรุงเทพมหานคร: บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด.
สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ.(2549). โครงการวิจัยการสำรวจและศึกษาภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ 4 ภาคของไทย.กรุงเทพ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล. (2537). คุณค่าและการวิเคราะห์ปัจจัยของเจริแอทริคซ์ดีเปรสชั่นสเกลในผู้สูงอายุไทย. จุฬาลงกรณ์เวชสาร, 7, 383-389.

อุดม ชมชาญและสารเนตร ไวคกุล (2550). อุบัติการณ์เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์กับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Altman, M., Gill, J. and McDonald, M. (2004). Numerical Issues in Statistical Computing for the Social Scientist. Wiley Series in Probability and Statistics. John Wiley: Hoboken NJ.
Bellamy, N., Buchanan, WW., Goldsmith, CH., Campbell, J. and Stitt LW. (1995). Validation study of WOMAC: a health status instrument for measuring clinically important patient relevant outcomes to antirheumatic drug therapy in patients with osteoarthritis of the hip or knee. The journal of Rheumatology, 15 (12), 1833-1840.
Fransen, M. et al. (2011). The epidemiology of Osteoarthritis in Asia. International J of
Rheumatic Disease, 14, 113-121.
Felson, DT., Naimark, A., Anderson, J., Caswell, W. and Meena, RF. (2006). The prevalence of Knee osteoarthritis in the elderly: the Framingham Osteoarthritis Study. Arthritis Rheumatology, 30, 914-918.
Hwn. (1995). The Impact of Chronic Illness on Patients. Rehabilitation. Nursing Journal
21 (4), 221-225.
Iqbal, MN., Haidri, FR., Motiani, B. & Mannan, A. (2011). Frequency of factors associated with knee osteoarthritis. JPMA, 61, 786-789.
Jevsevar, D. et.al. (2013). The treatment of osteoarthritis of the knee - 2nd Edition: Clinical practice guideline work group. Journal of the American Academy of Orthopedic Surgeon, 21(9), 571-576.
Jordan, JM., Helmick, CG., Renner, JB., et al. (2007). Prevalence of knee symptoms and
radiographic and symptomatic knee osteoarthritis in African-Americans and Caucasians: the Johnson County Osteoarthritis Project. J Rheumatology, 34, 172-80.
Katz, RL. (1995). Skills of an Effective Administrator. Harvard Business Review, 33-42.
Lawrence, RC., Helmick, CG., Arnett, FC., Deyo, RA., Felson, DT., and Giannini, EH. (2006). Estimates of the prevalence of arthritis and selected musculoskeletal disorders in the United States. Arthritis Rheum, 41, 778–799.
Neogi, T. (2013). The epidemiology and impact of pain in osteoarthritis. Osteoarthritis Cartilage, 21, 1145-1153.
Orem, DE. (1991). Nursing Concepts of Practice (4th ed.). St. Louis: Mosby.
Pereira, D., et al. (2011). The effects of osteoarthritis definition on prevalence and incidence estimates: a systematic review, Osteoarthritis and Cartilage, (19), 1270-1285.