การวิเคราะห์บนฐานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการกำหนดสถานที่ที่เหมาะสม สำหรับการจัดการก๊าซชีวภาพ

Main Article Content

ยอดขวัญ โสวรรณะ
รัศมี สุวรรณวีระกําธร

บทคัดย่อ

           ปัจจุบันการเลี้ยงสุกรในประเทศไทยมีมากขึ้นเป็นการเลี้ยงเพื่อการค้าการอุตสาหกรรม จึงส่งผลให้เกิดปัญหามลภาวะด้านกลิ่น แมลงวัน ก่อให้เกิดความชัดแย้งกับชุมชนอยู่บ่อยครั้ง อย่างไรก็ตามในการแก้ไขปัญหาของของมลภาวะดังกล่าว จึงมีการนำระบบผลิตก๊าซชีวภาพมาใช้ในการแก้ไขปัญหาซึ่งเป็นเป็นการสร้างบ่อเกรอะปิดสามารถช่วยลดมลภาวะจากฟาร์มสุกรได้รวมถึงสามารถนำเอาไปใช้ผลิตเป็นพลังงานทดแทนได้ การศึกษาครั้งนี้ได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) ประเมินพื้นที่เหมาะสมสำหรับตั้งบ่อก๊าซชีวภาพรวมด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) จากโดยใช้ปัจจัย ได้แก่ ระยะห่างจากชุมชน ระยะห่างจากแหล่งน้ำ ระยะห่างจากถนน และการใช้ประโยชน์ที่ดิน 2) หาระยะทางที่เหมาะสมในการขนส่งน้ำเสียจากฟาร์มไปยังบ่อก๊าซชีวภาพโดยการวิเคราะห์โครงข่าย(Network- Analysis) หาเส้นทางที่สั้นที่สุดในพื้นที่ศึกษาอำเภอโกสุมพิสัย อำเภอเชียงยืน อำเภอชื่นชม และอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ผลการศึกษาพบว่า สามารถเลือกที่ตั้งบ่อก๊าซชีวภาพ ได้ทั้งหมด 5 แห่ง เนื้อที่ของพื้นที่รองรับอยู่ระหว่าง 2.4 ไร่ ถึง 8.9 ไร่ จากปริมาณน้ำเสียรวมของแต่ละบ่ออยู่ที่ 47.95 ถึง 198.47 ลูกบาศก์เมตร/วัน ทำให้ได้ปริมาณก๊าซชีวภาพ อยู่ระหว่าง 203.8 ถึง 843.5 ลูกบาศก์เมตร/วัน และระยะทางที่เหมาะสมในการเก็บขนน้ำเสียจากฟาร์มไปยังบ่อก๊าซชีวภาพ 35 แห่ง อยู่ระหว่าง  1.03 กิโลเมตร ถึง 9.4 กิโลเมตร


           In the presented swine farming of Thailand is commercial industries. The effected of swine farming found that the main pollution are smell and bactrocera fly that affecting to the conflict in the community and owners. However, the solving guidelines of the problems by using the biogas produce systems to become solve the problem by used the septic tank system. This system can be reduce the pollution from swine farming and used to the renewable energy. For This study divide 2 path are 1) using geographic information system to analysis of identifying optimal locations for biogas facility from the factors including: distance from village, water body, road, and land used. 2)  to finding optimal of route path fortransportation the waste from swine farming to the biogas tank by using the network analysis in Kosumphisai, Chiang Yuen, Chuen Chom, and Kantharawichai District, Mahasarakham province. The results found that, biogas tank site selection are 5 location the area was 2.4 - 8.9 are rai. The quantity of waste farming of each tank about 47.95 - 198.47 cubic meters per day and the amount of biogas was 203.8 - 843.5 cubic meters per day. The optimized of route path from the waste farming to biogas tank was 1.03 - 9.4 kilometers.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2552). “ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกพื้นที่ตั้งสถานที่ฝั่งกลบกากของ
เสีย”. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 126 ตอนพิเศษ 61ง หน้า 48.
สาธิต แสงประดิษฐ์. (2557). “การสกัดขอบเขตอาคารจากข้อมูลภาพความละเอียดสูง”. วารสารวิจัยและ
พัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 9(2), พฤษภาคม – สิงหาคม,76-88.
สาธิต แสงประดิษฐ์. (2559). “การใช้การรับรู้จากระยะไกลเพื่อวิเคราะห์รูปแบบภูมินิเวศของการเปลี่ยนแปลง
การใช้ประโยชน์ที่ดิน จังหวัดร้อยเอ็ด”. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(1), มกราคม – พฤษภาคม,11-23.
สำนักจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ. (2556). “คู่มือวิธีการและเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงสุกรประเภท ค”. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2560, จาก http://www.pcd.go.th/public/Publications/
template/smallfarm56.pdf
Beata, S., and Joachim, V. (2012). “A GIS-based approach for evaluating the potential of biogas
production from livestock manure and crops at a regional scale: A case study for the Kujawsko-Pomorskie Voivode ship”. Renewable and Sustainable Energy Reviews 16,752–763.
DigitalGlobe, 2014. WorldView-3 spacecraft information and specifications, Retrieved September 4,
2015, from https://www.digitalglobe.com/resources/satellite-information. Sandra, S., Luis, A.C., and Luis C.D. (2014). “Biogas plants site selection integrating Multi criteria
Decision Aid methods and GIS techniques: A case study in a Portuguese region”.
Biomass and bioenergy 71,58 – 68.