นิเวศวิทยาทางน้ำในระบบเหมืองฝายของพื้นที่เกษตรกรรมในแหล่งต้นน้ำและแหล่งต้นน้ำลำธาร

Main Article Content

วิลาศ เทพทา
อรศิริ ปาณินท์
วุฒิพงษ์ ทวีวงศ์

บทคัดย่อ

นิเวศวิทยาทางน้ำในระบบเหมืองฝายของพื้นที่เกษตรกรรมในแหล่งต้นน้ำและแหล่งต้นน้ำลำธาร       มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบเหมืองฝายในรูปแบบของนิเวศวิทยาทางน้ำ และเสนอแนวทางการจัดการน้ำชุมชนในพื้นที่แหล่งต้นน้ำและแหล่งต้นน้ำลำธารให้อยู่ร่วมกับพื้นที่เกษตรกรรมอย่างยั่งยืน โดยการวิจัยดำเนินงานในชุมชนชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า มโนทัศน์ของชุมชนให้ความสำคัญต่อข้าว ป่า และน้ำ ดังนั้นการจัดการระบบเหมืองฝายจึงเป็นสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างด้านการจัดการน้ำแบบผสมผสานเชิงอนุรักษ์และพัฒนาให้สอดคล้องกับบริบทเชิงพื้นที่    ซึ่งสัมพันธ์กับคน ดิน น้ำ ป่า ไฟ เกษตรกรรม เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมให้เกิดการแบ่งปันผลประโยชน์จากน้ำอย่างเป็นธรรม ตลอดจนขยายโอกาสและยกระดับศักยภาพพื้นที่ต่อการให้บริการทางนิเวศ สร้างความหลากหลายทางชีวภาพ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อมด้วยตนเองของพื้นที่ ภายใต้ความเป็นองค์รวมและการพึ่งพาอาศัยระหว่างกระบวนการทางอุทกศาสตร์ระบบนิเวศของลุ่มน้ำและบริบทที่เกี่ยวข้อง สำหรับแนวทางการจัดการน้ำ พบว่า ควรส่งเสริมให้เกษตรกรมีความเข้าใจคุณค่าการทำเกษตรกรรมแบบพอเพียง รวมถึงการพัฒนาพื้นที่เกษตรกรรมร่วมกับการอนุรักษ์พื้นที่ธรรมชาติ จะต้องเป็นการดำเนินงานแบบคู่ขนานอย่างเป็นองค์รวม นอกจากนี้การยกระดับประสิทธิภาพการจัดการทรัพยากรน้ำจำเป็นต้องสนับสนุนการรับรู้ และการสร้างคุณค่าร่วมของชุมชนต่อแนวทางการจัดการน้ำและบริบทที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ อีกทั้งการจัดการน้ำจำต้องเปิดกว้างให้เกิดการผสมผสานความรู้แบบสหวิทยาการ เพื่อนำมาประยุกต์ในการดำเนินงานบริหารจัดการน้ำ โดยคำนึงถึงการจัดสรรผลประโยชน์ที่ได้รับอย่างเป็นองค์รวม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมทรัพยากรธรณี. (2556). รายงานแผนที่เสี่ยงภัยดินถล่มระดับชุมชน ตําบลบ้านหลวง อําเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
กาญจนา แก้วเทพ และ สมสุข หินวิมาน. (2553). สายธารนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
กาญจนา แก้วเทพ และคณะ. (2554). สื่อพื้นบ้านในสายตานิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ: โครงการเมธีวิจัยอาวุโสฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
เกษม จันทร์แก้ว. (2551). หลักการจัดการลุ่มน้ำ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เครือข่ายกาญจนาภิเษก. (2559). การอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร. ค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2559 จาก http://kanchanapisek. or.th/kp6/BOOK12/chapter8/t12-8-m.htm
ชูศักดิ์ วิทยาภัค. (2538). ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับการใช้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำปิงตอนบน : ศึกษากรณี อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปราโมทย์ อินสว่าง และคณะ. (2561). คุณค่าระบบนิเวศและบริการของระบบนิเวศสำหรับภาคธุรกิจ. กรุงเทพฯ: องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) และมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI).
สมร สังฆสร. (2545). คนอยู่กับป่า 4 : พิธีกรรมความเชื่อ ต่อสู้ด้วยปัญญา. เชียงใหม่: พงสวัสดิ์การพิมพ์.
สิริวัฒนา ใจมาและคณะ. (2546). โครงการการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชนบ้านแม่กลางหลวง ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
Gregory, K.J. and Walling, D.E., (1974). Drainage Basin Form and Process: A Geomorphological Approach. New York : A Halsted (Wiley) Press Book.
UNESCO. (2016). International Hydrological Programme (IHP) Eight Phase “Water Security : Responses to Local, Regional,and Global Challenges” Strategic Plan IHP – VIII (2014-2021). Retrieved December 25, 2016, From UNESCO Website: http://www.unesdoc.unesco.org/images/0022/002251/225103e.pdf.
________. (2018a). Ecohydrology an Interdisciplinary Approach for Sustainable Management of Water Resources. Retrieved November 25, 2017, From UNESCO Website : http ://www.unesdoc.unesco.org/images/0015/001529/152987e.pdf
________. (2018b). Ecohydrology Web Platform. Retrieved November 20, 2017, From UNESCO Website: http://www.ecohydrology-ihp.org/demosites/