การพัฒนากระบวนการผลิตตะลิงปลิงแช่อิ่มอบแห้งของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้าน เกษตรกรคลองสี่ ตำบลคลองสี่ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนากระบวนการผลิตตะลิงปลิงแช่อิ่มอบแห้งให้เป็นไปมาตรฐานสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร (Good Hygiene Practice : GHP) ก่อนการพัฒนาไม่ผ่านเกณฑ์ 5 ปัจจัย ผ่านเกณฑ์ 2 ปัจจัย หลังการพัฒนากระบวนการผ่านเกณฑ์ครบทั้ง 7 ปัจจัย ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีพบว่าปริมาณคาร์โบไฮเดรต ความชื้น ไขมัน และโปรตีน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) ปริมาณ เส้นใย เถ้า และพลังงาน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) ปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด เมื่อเก็บรักษานาน 30 วัน วิธีของกลุ่มแม่บ้านในภาชนะบรรจุถุง PP และวิธีบรรจุปกติในภาชนะบรรจุถุง PE มีปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดเกินมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผลไม้แช่อิ่ม (พบเกิน 1x10 4 โคโลนีต่อกรัม) สำหรับปริมาณเชื้อยีสต์-รา ไม่เกินมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผลไม้แช่อิ่ม (ไม่เกิน 100 โคโลนีต่อกรัมตามลำดับ) คุณภาพทางเคมี-กายภาพ พบว่า ค่าน้ำอิสระในอาหาร (aw) ในภาชนะบรรจุถุง PP, PE และ PE บรรจุสุญญากาศ ที่เวลาเก็บรักษา 0 และ 10 วัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) ส่วนเวลาที่ 20 และ 30 วัน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(P≤0.05) ค่าสี L-a-b, ค่าเนื้อสัมผัส (ความแข็ง) และคุณภาพทางประสาทสัมผัส ด้านสี พบว่าทุกวิธีการ และทุกเวลาเก็บรักษา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) ส่วนด้านกลิ่น พบว่าทุกวิธีการที่เวลาเก็บรักษา 0, 10 และ 20 วัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) ด้านรสชาติ พบว่าทุกวิธีการ ที่เวลาการเก็บรักษา 0, 20 และ 30 วัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) ด้านเนื้อสัมผัส พบว่าทุกวิธีการ ที่เวลาการเก็บรักษา 10, 20 และ 30 วัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) ด้านความชอบรวม พบว่า ทุกวิธีการ ที่เวลาการเก็บรักษา 0, 20 และ 30 วัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) โดยผลิตภัณฑ์ ที่เวลาเก็บรักษา 30 วัน ด้วยวิธีบรรจุปกติในภาชนะบรรจุถุง PE ได้คะแนนความชอบรวมสูงสุด
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
อุตสาหกรรม. กระทรวงอุตสาหกรรม. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2556.
http://www.industry.go.th/industry/index.php
ชายกร สินธุสัย. (2556). สุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร. (Good Hygiene Practice). สืบค้นเมื่อวันที่
20 ตุลาคม 2555. http://www.biotec.or.th/GHP/index.php?option=com_
content&view=category&layout=blog&id=2&Itemid=6&limitstart=1.
ธัญนันท์ ทองคำ. (2549). เอกสารประกอบการสอนวิชาบรรจุภัณฑ์อาหาร. หลักสูตรวิชา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. ปทุมธานี.
_________. (2549). บทปฏิบัติการจุลชีววิทยาอาหาร. หลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ปทุมธานี.