การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมอาซูรอทดแทนน้ำดอกคำฝอย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมอาซูรอทดแทนน้ำดอกคำฝอย กรณีศึกษาตำบล บึงคอไห อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมอาซูรอ และเพื่อศึกษาทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ขนมอาซูรอ จากการศึกษาภาคสนามโดยการสอบถาม ชุมชนได้อธิบายความเป็นมาของขนมอาซูรอ เกิดจากศาสดาชื่อ “นบีนุฮ (อ) ”เป็นหนึ่งในบรรดาศาสดานบีทั้ง 25 พระองค์ สมัยท่านนบีนุฮ (โนอาร์) เกิดโองการของพระเจ้าสั่งให้น้ำท่วมโลกนบีนุฮ (อ) จึงได้มีการสั่งต่อเรือสำเภาขนาดใหญ่ เพื่อบรรทุกสิ่งมีชีวิตพืชพันธุ์ธัญหาร เป็นต้น เมื่อน้ำแห้งบนพื้นโลกไม่เหลือสิ่งมีชีวิตเกิดการล้มตาย จึงทำให้ขาดแคลนอาหาร ท่านนบีนุฮ (อ) จึงสั่งให้นำถั่วธัญพืชที่มีอยู่บนเรือ มาใส่น้ำกวนรวมกันให้เป็นของเหลวแล้วแบ่งปันได้ทั่วถึงกันจึงทำให้ประทังชีวิตได้ในขณะนั้น (อิมาม อิบนุกะซีร, 2556) โดยในปัจจุบันยังมีการทำขนมอาซูรอเพื่อระลึกถึงศาสดาในทุกๆ ปี ประกอบกับขนมอาซูรอยังสื่อถึงความสามามัคคีในกลุ่มชุมชน (ศณีรา หวังเจริญ, 2552) ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้นำสูตรขนมอาซูรอสูตรพื้นฐานมาพัฒนา โดยการปรับด้านเนื้อสัมผัสลดระดับงาดำ โดยผลการทดลองพบว่า ขนมอาซูรอ ใช้วิธีการบดละเอียด และลดระดับงาดำในขนมอาซูรอได้ร้อยละ 50 แต่ยังมีผลทำให้สีในผลิตภัณฑ์ยังคงมีสีคล้ำ จึงทำการเปลี่ยนงาดำเป็นงาขาว และนำน้ำดอกคำฝอยมาทดแทนน้ำสะอาด เพื่อพัฒนาด้านสีในผลิตภัณฑ์ให้น่ารับประทานมากขึ้น ซึ่งสามารถทดแทนน้ำดอกคำฝอยที่เหมาะสมได้ร้อยละ 30 ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้ยังใช้วัตถุดิบเช่นเดิมเพียงแต่ปรับประเภทของวัตถุดิบ ยังคงมีลักษณะปรากฏที่สม่ำเสมอ มีความละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน มีสีเหลืองดอกคำฝอย กลิ่นและรสชาติดี และมีความเหนียวนุ่มที่พอเหมาะขึ้นรูปได้ เมื่อทดสอบทางกายภาพ พบว่า ขนมอาซูรอสูตรพื้นฐานเปรียบเทียบขนมอาซูรอทดแทนน้ำดอกคำฝอย ค่าสีขนมอาซูรอทดแทนน้ำดอกคำฝอย มีค่าสีเหลืองเข้มขึ้นจากดอกคำฝอย ส่วนค่าเนื้อสัมผัส มีค่าความแข็ง(1038.78 และ 1246.96) ค่าการเกาะติด (-471.58 และ-348.49) ความยืดหยุ่น (0.25 และ 0.59) ค่าความเหนียว (219.34 และ 610.13) ค่าการบดเคี้ยว (63.47 และ 343.30) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่ค่าการเกาะตัว (เท่ากับ 0.21 และ 0.47) มีความแตกต่างกัน เนื่องจากขนมอาซูรอได้ทำการบดละเอียดทำให้เนื้อสัมผัสมีความเหนียวนุ่ม และรวมตัวเป็นเนื้อเดียวกันได้ดี
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ศณีรา หวังเจริญ. (2552). ประเพณีกวนขนมอาซูรอ, สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2559. http://thaiculture
024.blogspot.com.
สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้. (2542). ความหมายหมายของขนมอาซูรอ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมไทย.
อิมาน อิบนุกะซีร และบรรจง บินกาซัน. (2556). เรื่องราวของบรรดานบี. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสืออิสลาม.