ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและสารประกอบฟีนอลิกของเมล็ดและเนื้อมะม่วงไม่รู้โห่
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและสารประกอบของสารสกัดหยาบเมล็ดและเนื้อมะม่วงไม่รู้โห่ โดยนำเมล็ดและเนื้อมะม่วงไม่รู้โห่ มาสกัดแบบต่อเนื่องด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ ผลการวิจัยพบว่า สารสกัดเนื้อมะม่วงไม่รู้โห่ มีร้อยละผลผลิตสูงกว่าสารสกัดเมล็ดมะม่วงไม่รู้โห่ สารสกัดเนื้อมะม่วงไม่รู้โห่ มีปริมาณฟีนอลิกทั้งหมด (41.27 ถึง 10.20 mgGAE/g) มากกว่าสารสกัดเนื้อมะม่วงไม่รู้โห่ (39.74 ถึง 11.00 mgGAE/g) และสารสกัดเนื้อมะม่วงไม่รู้โห่ มีปริมาณแทนนินทั้งหมด (65.21 ถึง 35.14 mg/g) มากกว่าสารสกัดเนื้อมะม่วงไม่รู้โห่ (65.10 ถึง 37.00 mg/g) และพบสารประกอบกลุ่มสารหลักคือ สารฟลาโวนอยด์ เตอรอยด์-เทอร์นส์ และ สารอัลคาลอยด์ของสารสกัดหยาบเมล็ดและเนื้อมะม่วงไม่รู้โห่ นอกจากนี้สารสกัดหยาบเนื้อมะม่วงไม่รู้โห่ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (30.21 ถึง 71.01%) และเมล็ดของมะม่วงไม่รู้โห่ แสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีที่สุด (33.15% ถึง 51.02%) ในทุกๆ ความเข้มข้น
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ชนานันท์ สุวรรณปิฎกกุล และมยุรี กัลยาวัฒนกุล. (2557). การวิเคราะห์ปริมาณแอนโทไซยานินรวมและ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดมะม่วงหาวมะนาวโห. รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์เครื่องสาอาง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, เชียงราย.
ณพัฐอร บัวฉุน. (2558). สารต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดจากพิลังกาสา. การประชุมวิชาการระดับชาติ ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 3. นครศรีธรรมราช (45-50).
_____. (2558). สารต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดจากชะเอมไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 10(2), 78-95.
มนสิชา ขวัญเอกพันธ์ และคณะ. (2555). ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของสารสกัดจากส่วนเถาชะเอมไทย. เชียงราย : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
สกุลกานต์ สิมลา, สุรศักดิ์ บุญแต่ง และพัชรี สิริตระกูลศักดิ์. (2556). การประเมินปริมาณสารพฤษเคมีบางประการและกิจกรรมของสารต้านอนุมูลอิสระใน Carissa carandas L. แก่นเกษตร 41 ฉบับพิเศษ: 602-606.
สุธาทิพย์ อินทรกำธรชัย และคณะ. (2555). การพัฒนาครีมชะลอวัยผสมสารสกัดดอกมะลิลา.เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
Gupta, P., I. Bhatnagar, S-K. Kim, A. K. Verma, and A. Sharma. 2014. In-vitro cancer cell cytotoxicity and alpha amylase inhibition effect of seven tropical fruit residues. Asian Pac J Trop Biomed. 4(2), S665-S671.
Itankar, P. R., S. J. Lokhande, P. R. Verma, S. K. Arora, R. A. Sahu, and A. T. Patil. Antidiabetic potential of unripe Carissa carandas Linn. Fruit extract. J. Eth¬nopharmacology. 135, 430-433.
Kubola, J., S. Siriamornpun, and N. Meeso. 2011. Phyto¬chemicals, vitamin C and sugar content of Thai wild fruits. Food Chemistry. 126, 972-981.