การพัฒนาผลิตภัณฑ์บาล์มว่านร้อยแปด ในวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรพัฒนาก้าวหน้า ตำบลคลองหลวง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์บาล์มว่านร้อยแปดตามกระบวนการมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนและการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้ทฤษฎีการออกแบบความคิด (Design Thinking) และเพื่อศึกษาความคงสภาพทางกายภาพของผลิตภัณฑ์บาล์มว่านร้อยแปด วิธีการทดลองจะศึกษากระบวนการมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนและพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ มีศึกษาความต้องการโดยการสังเกต พูดคุยเบื้องต้น เข้าถึงความต้องการที่แท้จริงโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกพูดคุยถึงปัญหาที่แท้จริง ออกแบบผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์และสถานที่ผลิต สร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบ พัฒนาผลิตภัณฑ์ 8 ตำรับ และคัดเลือกผลิตภัณฑ์โดยระดมสมอง แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่ม จึงได้มา 3 สูตร การศึกษาความคงสภาพทางกายภาพของผลิตภัณฑ์เป็นการทดสอบ การกระจายบนผิว การแยกชั้น ความมัน ความหนืด กลิ่น และสี ที่อุณหภูมิห้อง อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 เดือน และทดสอบในสภาวะร้อน-เย็น จำนวน 6 รอบ จากการทดลองพบว่าสูตร 6 และสูตร 7 เมื่ออยู่ที่อุณหภูมิที่ร้อนจะมีสีอ่อนลง เนื่องจากความร้อน มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสีผลิตภัณฑ์และเมืองไทยเป็นประเทศที่มีภูมิอากาศร้อนเป็นส่วนใหญ่จะมีผลโดยตรงต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์จึงจำเป็นที่ต้องควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และสูตร 8 เป็นสูตรที่ทดสอบความคงสภาพไม่มีการเปลี่ยนแปลง
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
จักรกริช อังศุธร และคณะ. (2542) การศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ยาหม่องขี้ผึ้งในรูปแบบใหม่ สู่ตลาดเมืองไทย สืบค้นเมือวันที่ 3 มีนาคม 2561 จาก http://www.siamchemi.com
บุญสม หรรษาศิริพจน์. (2557). การประเมินโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แนวคิด 3 P: The Project of One Tumbon One Product. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย ปีที่ 6 ฉบับที่ 3
สืบค้นเมือวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2561 จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/polscilaw_journal/article/view/48685/40461
ยามีละ ดอแมและคณะ. การพัฒนาการออกแบบความคิดการดูแลสุขภาพตามธาตุเจ้าเรือนโดยใช้เทคนิคกระบวนการเรียนรู้การใช้ปัญหาเป็นหลักของนักศึกษาสาขาสุขภาพความงามและสปา วารสารโรงพยาบาลสกลนคร ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2560
วิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรพัฒนาก้าวหน้า.(2560). ข้อมูลกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรพัฒนาก้าวหน้า ต.คลองหลวง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี. สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรพัฒนาก้าวหน้า
สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. (2552) คู่มือประชาชนในการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย. กรุงเทพ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม, สืบค้นเมื่อ วันที่ 25 มกราคม 2561 จาก http://app.tisi.go.th/otop/std_draft/91otopstd.html ,
http://www.agriman.doae.go.th/home/Research/Herb57/5.pdf
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน สืบค้นเมื่อ วันที่ 30 มกราคม 2561 จาก http://www.sceb.doae.go.th/Ssceb2.htm
Singapore polytechnic. (2011). Design Thinking. Singapore : Singapore polytechnic.