ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด สารต้านอนุมูลอิสระและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โลชั่นบำรุงผิว

Main Article Content

ณพัฐอร บัวฉุน
วิชุดา มั่นจิตร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบจากผลมะขามป้อม ผลมะกอกน้ำ ผลพิกุล และผลลูกยอ นำมาสกัดด้วยเอทานอล ผลการวิจัยพบว่า สกัดหยาบจากผลมะขามป้อมมีปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดสูงสุดเท่ากับ 65.01 0.03 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิคต่อ 100 กรัมน้ำหนักแห้ง  รองลงมาคือผลลูกยอ ผลมะกอกน้ำ และผลพิกุล มีค่าเท่ากับ 43.85  0.01  31.25  0.02 และ 22.08  0.01  มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิคต่อ 100 กรัมน้ำหนักแห้ง  ตามลำดับ เมื่อนำมาวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ พบว่า สกัดหยาบจากผลมะขามป้อมมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงสุดโดยมีค่า IC50 เท่ากับ 18.12 0.01 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร รองลงมาคือผลมะกอกน้ำ  ผลลูกยอ และผลพิกุล มีค่าเท่ากับ 14.84 0.01 12.91 0.02  0.92 0.01 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ เมื่อนำสารสกัดของผลมะขามป้อมที่มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุดไปใช้พัฒนาโลชั่น และ             ทำการทดสอบความคงสภาพของโลชั่นสูตรผสมสารสกัดมะขามป้อมเข้มข้น 0.5% w/w ที่สภาวะต่างๆ เป็นเวลา  1 เดือน โดยทำการเก็บข้อมูลทุกสัปดาห์ พบว่าที่สภาวะอุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส 27 องศาเซลเซียส โลชั่นมีสภาพความคงตัวดีที่อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส มีความคงสภาพของเนื้อโลชั่นจะเริ่มลดลงเมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 4 ส่วนที่สภาวะการทำให้แข็งตัวและการละลาย พบว่า เนื้อโลชั่นเกิดการแยกชั้นสัปดาห์ที่ 3 เมื่อนำโลชั่นไปหาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระพบว่า โลชั่นที่มีส่วนผสมของสารสกัดผลมะขามป้อมมีสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากกว่าโลชั่นสูตรพื้นฐาน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณพัฐอร บัวฉุน. (2558). สารต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดจากชะเอมไทย. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 10(2), 78-95.
ณพัฐอร บัวฉุน. (2558). การพัฒนาโลชั่นจากสารสกัดหยาบชะเอมไทยที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 10(2), 97-106.
มนสิชา ขวัญเอกพันธ์ และคณะ. (2555). ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของสารสกัดจากส่วนเถาชะเอมไทย. เชียงราย : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
ยุทธนา สุดเจริญ. (2553). การประเมินคุณประโยชน์ผักและสมุนไพรพื้นบ้าน จังหวัดสมุทรสงคราม. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สมหมาย ปัตตาลี. (2551). การศึกษาคุณภาพของน้าหมักชีวรูปที่ผลิตจากผลมะหลอด. ปริญญาการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
สุธาทิพย์ อินทรกำธรชัย และคณะ. (2555). การพัฒนาครีมชะลอวัยผสมสารสกัดดอกมะลิลา.เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
Beyer, R.E. (1992). An Analysis of Role of Coenzyme Q in Free Radical Generation and As Antioxidant. Biochemistry and Cell Biology. 70, 390 – 403.
Chatchai Thetsrimuang, Saranyu Khammuang, Khajeelak Chiablaem, Chantragan Srisomsap, Rakrudee Sarnthima. (2011) Antioxidant properties and cytotoxicity of crude polysaccharides from Lentinus polychrous Lev. Food Chemistry, 2011(128), 634-639.
Deepika Kumari, M. Dudhakara Reddy, Ramesh Chandra Upadhyay. (2011) Antioxidant Activity of three Species of Wild Mushroom Genus Cantrarellus Collected from North-Western Himalaya, India. International Journal of Agrculture & Biology, 2011(13), 415-418.
Hip Seng Yim, Fook Yee Chy, Sze May Koo, Patricia Matanjun, Siew Eng How, Chun Wai Ho. (2012) Optimization of extraction time and temperature for antioxidant activity of edible wild mushroom, Pleurotus porrigens. Food and Bioproducts Processing, 2012(90), 235-242