นวัตกรรมระบบสุขภาพระดับอำเภอ บริการสุขภาพระดับอำเภอ จังหวัดชัยนาท
Main Article Content
บทคัดย่อ
นโยบายการพัฒนาเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอ เป็นระบบการทํางานแบบมีส่วนร่วมจาก ทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการพัฒนาเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอ ใช้รูปแบบการประเมินผลแบบ CIPP Model จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลผลิต ดำเนินการระหว่างเดือนเมษายน-กันยายน 2560 ในพื้นที่จังหวัดชัยนาท เก็บรวบรวมข้อมูลจากคณะกรรมการบริหารจัดการและผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอ จำนวน 160 คน โดยใช้แบบประเมินผลการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและ การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัย พบว่า จังหวัดชัยนาทมีการพัฒนาเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอมาตั้งแต่ปี 2558 ได้ถ่ายทอดนโยบายให้ผู้ปฏิบัติงานในแนวดิ่งและกำหนดเป็นตัวชี้วัดระดับจังหวัด มีโครงสร้างคณะทำงานและกำหนดบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน มีการสนับสนุนทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างทั่วถึง ขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้การนำของนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดโดยใช้เครื่องมือ “SI3M” ประกอบด้วย การกำหนดโครงสร้างกลไกการทำงาน ระบบข้อมูลสารสนเทศ กระบวนการดำเนินงานและนวัตกรรม การบูรณาการและการติดตามประเมินผล รวมทั้งมีการนิเทศติดตามงานในพื้นที่ด้วยกระบวนการ ชื่นชมที่ให้ความสำคัญ ในการค้นหาจุดดีมาเพื่อต่อยอด ส่งผลทำให้จังหวัดชัยนาทผ่านเกณฑ์การประเมิน มีการพัฒนาบุคลากรอย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม พัฒนางานบริการสุขภาพปฐมภูมิจนเกิดเป็นนวัตกรรมสุขภาพชุมชน ที่สามารถใช้ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง และผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้านอย่างต่อเนื่องเพิ่มมากขึ้น เกิดเป็นเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอที่มีการบูรณาการทรัพยากรในการดำเนินกิจกรรมที่ตอบสนองต่อปัญหาชุมชนจนเกิดอรรถประโยชน์สูงสุด ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ ควรส่งเสริมให้ผู้บริหารทุกระดับให้การสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอและสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน รวมทั้งส่งเสริมให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้มีโอกาสพัฒนาต่อยอดทุนทางสังคมและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพและแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนต่อไป
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
สำนักบริหารการสาธารณสุข. (2556). การขับเคลื่อนระบบสุขภาพระดับอำเภอ (รสอ.) District Health System (DHS) ฉบับประเทศไทย. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2556). แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี: ชีวิตคนไทยในสองทศวรรษของการพัฒนา. นนทบุรี: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
Cohen, J. M. and Uphoff, N. T. (1981). Rural Development Participation: Concept and Measures for Project Design Implementation and Evaluation. Rural Development Committee Center for International Studies, Cornell University.
Stufflebeam, Daniel L., et. al. (1971). Educational Evaluation and Decision Making. Itasca, Illinois: F.E Peacock Publisher Inc.