การวิเคราะห์ข้อมูลผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์โดยใช้เทคนิค
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์โดยใช้เทคนิคการทำเหมืองข้อมูล โดยใช้ข้อมูลผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตในเทศกาลสงกรานต์ประจำปี 2551 - 2557 จำแนกตามโรงพยาบาลทั่วประเทศ จากเว็บไซต์ data.go.th ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการเตรียมข้อมูลให้เหมาะสมสำหรับการจำแนกข้อมูลโดยตัดข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปและปรับให้จำนวนข้อมูลของคำตอบหรือผลลัพธ์มีสัดส่วนใกล้เคียงกัน จากนั้นทำการจำแนกข้อมูลโดยกำหนดให้แอททริบิวท์ผลการรักษาเป็นคำตอบที่ต้องการพยากรณ์ สำหรับอัลกอริทึมที่ผู้วิจัยเลือกใช้ในการสร้างโมเดล ได้แก่ Naive Bayes, Generalized Linear Model (GLM), Logistic Regression, Decision Tree, Random Forest, และ Gradient Boosted Trees (XGBoost) ซึ่งผลการวิจัยพบว่า แอททริบิวท์ที่มีความสัมพันธ์กันมากที่สุดคือ เพศชายมีความสัมพันธ์กับการดื่มสุรา และพบว่าการไม่ใส่หมวกกันน็อคมีความสำคัญสูงที่สุดในการจำแนกข้อมูล สำหรับประสิทธิภาพของอัลกอริทึมที่ใช้ในการสร้างโมเดล พบว่า Naive Bayes มีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยเมื่อพิจารณาจากค่าความถูกต้อง มีค่าถึง 77.4% นอกจากนั้นยังพบว่าอุบัติเหตุส่วนใหญ่มักเกิดบนถนนชนบท ผู้ขับขี่เป็นเพศชาย ซึ่งไม่ใส่หมวกกันน็อค ไม่มีคู่กรณี/ล้มเอง มักเกิดเหตุในวันที่ 13 เมษายน สำหรับมาตรการที่จะป้องกันการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุควรมุ่งเป้าไปที่การรนณรงค์ให้ใส่หมวกกันน็อค โดยเน้นบริเวณถนนทางหลวงและถนนในเมือง เนื่องจากหากไม่ใส่หมวกกันน็อคแล้วเกิดอุบัติเหตุบนถนนทางหลวงหรือถนนในเมือง จากผลการวิจัยผู้ขับขี่มีโอกาสเสียชีวิตสูง
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์