ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและส่งเสริม การท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร โดยผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2556
Main Article Content
บทคัดย่อ
พื้นที่ตอนกลางของกรุงเทพมหานครประสบกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งการแก้ไขและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมโดยมาตรการทางผังเมืองที่ผ่านมา ยังไม่มีการชี้ชัดถึงความพึงพอใจและความต้องการของประชาชนที่มีต่อมาตรการทางผังเมืองในการจัดการสิ่งแวดล้อม บทความวิจัยชิ้นนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการทางผังเมืองที่เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและส่งเสริมการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร เพื่อวิเคราะห์ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อมาตรการทางผังเมืองในการจัดการสิ่งแวดล้อม และเพื่อเสนอแนะแนวทางการวางและจัดทำมาตรการทางผังเมืองที่เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและส่งเสริมการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การจัดทำแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2556 มีลักษณะเป็นทั้งมาตรการเชิงลบ (เช่น การควบคุมตามกฎกระทรวง) มาตรการเชิงบวก (เช่น แผนผังคมนาคมและขนส่งและสาธารณูปโภค) และมาตรการส่งเสริม (เช่น การกำหนด FAR Bonus) อันมีการดำเนินการหลายประการที่มุ่งเน้นการจัดการสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าร้อยละ 50 ไม่เข้าใจในมาตรการทางผังเมืองและมีความพึงพอใจระดับปานกลางเป็นส่วนใหญ่ในข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2556 ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อม หากแต่มีความต้องการให้มีการจัดการสิ่งแวดล้อมในอนาคตโดยมาตรการทางผังเมืองระดับมาก ดังนั้น ข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร จึงควรให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้แก่ประชาชนในเรื่องมาตรการทางผังเมืองที่กว้างขวางและเข้าใจง่าย การเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนเมือง การกำหนดบทลงโทษที่เข้มงวดในการฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามมาตรการทางผังเมืองและการนำมาตรการทางผังเมืองในลักษณะมาตรการส่งเสริมมาใช้มากขึ้น
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์