การวิเคราะห์วอเตอร์ฟุตพริ้นท์โดยใช้โปรแกรม CROPWAT 8.0 จากการเพาะปลูกมะยงชิด : กรณีศึกษาตำบลป่าขะ อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาค่าวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของการเพาะปลูกมะยงชิดในพื้นที่ตำบลป่าขะ อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก โดยใช้โปรแกรม CROPWAT 8.0 การเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรที่มีพื้นที่เพาะปลูกมะยงชิดจำนวน 57 ราย และข้อมูลทุติยภูมิประกอบด้วยข้อมูลสภาพภูมิอากาศ การใช้น้ำของพืช ข้อมูลชุดดิน ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรจะมีการปลูกมะยงชิดพันธุ์ทูลเกล้าทั้งหมด น้ำที่ใช้ในการเพาะปลูกมาจากน้ำฝน และน้ำคลองธรรมชาติและสระน้ำ ช่วงระยะเวลาในการให้น้ำ 3 วัน/ครั้ง การบำรุงโดยปุ๋ยและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชใช้ในขั้นตอนการบำรุงรักษาเป็นหลัก ผลการวิเคราะห์หาวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของการเพาะปลูกมะยงชิดแบ่งเป็น พบว่าวอเตอร์ฟุตพริ้นท์รวม (WF total) อยู่ที่ 627.5 ลูกบาศก์เมตรต่อตัน วอเตอร์ฟุตพริ้นท์สีเขียว (WF green) 590.5 ลูกบาศก์เมตรต่อตัน และ วอเตอร์ฟุตพริ้นท์สีเทา (WF gray) 37.0 ลูกบาศก์เมตรต่อตัน คิดเป็นอัตราส่วนระหว่าง WFgreen: WFblue: WFgray อยู่ที่ 94.1:0:5.9 สำหรับค่าฟุตพริ้นท์การขาดแคลนน้ำของการเพาะปลูกมะยงชิดอยู่ที่ 1.13 ลูกบาศก์เมตรเทียบเท่า ผลการศึกษาพบว่าในพื้นที่ไม่พบปัญหาการขาดแคลนน้ำมีความเหมาะสมในการปลูกมะยงชิด และการใช้สารเคมีน้อยซึ่งเป็นไปตามแนวทางในการผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืน
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์