การศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ขนมหวานพื้นเมืองให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และส่งเสริมเส้นทางการท่องเที่ยวจังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ขนมหวานพื้นเมืองเพชรบุรี โดยรวบรวมตำรับขนมหวานพื้นเมืองเพชรบุรี 2) จัดทำเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้านขนมหวานพื้นเมืองของจังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยว 60 คน โดยใช้การทดสอบทางประสาทสัมผัส การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวน ANOVA ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า อำเภอเมือง คือ ขนมโค สูตรที่ 2 ได้รับการยอมรับในระดับชอบมากที่สุดด้านสี ด้านกลิ่น ด้านรสชาติ ด้านเนื้อสัมผัส และด้านความชอบโดยรวม มีค่าเฉลี่ย 6.45, 6.38, 6.25, 6.00 และ 6.60 อำเภอบ้านแหลม คือ ขนมไข่แมงดาเชื่อม สูตรที่ 1 ด้านสี ด้านกลิ่น ด้านรสชาติ ด้านเนื้อสัมผัส และ ด้านความชอบโดยรวม มีค่าเฉลี่ย 6.35, 6.76, 6.80, 6.77, 6.80 อำเภอบ้านลาด คือ ขนมหม้อแกง สูตรที่ 1 ด้านสี ด้านกลิ่น ด้านรสชาติ ด้านเนื้อสัมผัส และ ด้านความชอบโดยรวม มีค่าเฉลี่ย ด้านสี 6.55, 6.30, 6.55, 6.30, 6.60 ตามลำดับ อำเภอหนองหญ้าปล้อง คือ ขนมข้าวฟ่างเปียก สูตรที่ 3 ด้านสี ด้านกลิ่น ด้านรสชาติ ด้านเนื้อสัมผัสและ ด้านความชอบโดยรวม มีค่าเฉลี่ย 6.18, 6.20, 6.38, 6.58, 6.59 ตามลำดับ อำเภอชะอำ คือ ขนมโตนดเชื่อม สูตรที่ 2 ด้านสี ด้านกลิ่น ด้านรสชาติ ด้านเนื้อสัมผัส และ ด้านความชอบโดยรวม มีค่าเฉลี่ย 6.39, 6.38, 6.50, 6.59, 6.69 ตามลำดับ อำเภอท่ายาง คือ ขนมตาล สูตรที่ 1 ด้านสี ด้านกลิ่น ด้านรสชาติ ด้านเนื้อสัมผัส และ ด้านความชอบโดยรวม มีค่าเฉลี่ย 6.37, 6.44, 6.47, 6.59, 6.65 ตามลำดับ อำเภอเขาย้อย คือ ขนมข้าวเหนียวตัด สูตรที่ 2 ด้านสี ด้านกลิ่น ด้านรสชาติ ด้านเนื้อสัมผัส และ ด้านความชอบโดยรวม มีค่าเฉลี่ย 6.47, 6.24, 6.55 6.60, 6.60 ตามลำดับ เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้านขนมหวานพื้นเมืองจะถูกรวบรวมสูตรไว้ที่โรงเรียนการอาหารนานาชาติเพชรบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์