การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนชองชุมชนบ้านคลองอาราง : ชาสมุนไพรชายากลิ่นข้าวเหนียวดำคั่ว

Main Article Content

ธิติยา ผจงพฤทธิ์
จุรีมาศ ดีอำมาตย์
สินีนาถ สุขทนารักษ์
เบญจางค์ อัจฉริยะโพธา
พัชรลักษณ์ วัฒนไชย
กนกวรรณ ปุณณะตระกูล
วีระศักดิ์ ศรีลารัตน์
มนัญญา คำวชิระพิทักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากชายาเป็นชาสมุนไพรชายากลิ่นข้าวเหนียวดำคั่วแบบซองชงเยื่อกระดาษ เพื่อเป็นแนวแนวทางการผลิตเป็นสินค้าชุมชนชองชุมชนบ้านคลองอาราง จังหวัดสระแก้ว  โดยศึกษาอัตราส่วนของใบชายาอบแห้งและข้าวเหนียวดำคั่วที่ระดับ 100:0,70:30 และ 40:60  คัดเลือกอัตราส่วนที่ผู้ทดสอบยอมรับมากที่สุด คือ สูตรที่ 3 (40:60) ที่มีใบชายาอบแห้งร้อยละ 40 ข้าวเหนียวดำคั่วร้อยละ 60 บรรจุขนาด 2 กรัม ในชองชาเยื่อกระดาษขนาด 6.5x5 เซนติเมตร  ซึ่งวิเคราะห์วัตถุดิบเริ่มต้นคือ ใบชาชายา มีค่าความชื้นร้อยละ 10.36  ค่าสี L*, a* และ b* เท่ากับ 42.43, 1.37 และ 5.00 ตามลำดับ ให้ค่าสีของใบชาคือ สีเขียวเข้มอมน้ำตาล  สำหรับข้าวก่ำคั่ว (ข้าวเหนียวดำคั่ว) มีค่าความชื้นร้อยละ 12.33 และมีค่าสี L*, a* และ b* เท่ากับ 42.43, 10.33 และ 5.20 ตามลำดับ  สำหรับชาสมุนไพรชายากลิ่นข้าวเหนียวดำคั่วแบบซองชงเยื่อกระดาษ สูตรที่ 3 มีค่าสี L*, a* และ b* เท่ากับ 42.40, 1.43 และ 8.5 ตามลำดับ เมื่อทำการทดสอบทางประสาทสัมผัสของน้ำชาสมุนไพรที่ผ่านการชงพบว่าใบชาสูตรที่ 3 ได้รับการยอมรับทางประสาทสัมผัสด้าน สี ความใส กลิ่น ความรู้สึกหลังกลืน และความชอบโดยรวม เท่ากับ 7.32, 7.61, 7.03, 7.00 และ 7.26 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย