ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน และปริมาณสารประกอบฟีนอลทั้งหมดของสารสกัดหยาบจากมะตาด
Main Article Content
บทคัดย่อ
มะตาดเป็นพืชพื้นบ้านของจังหวัดปทุมธานีใช้ในการประกอบอาหารเป็นไม้ประดับและมีสรรพคุณ ทางยาพื้นบ้าน แต่ยังไม่พบข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในเชิงวิทยาศาสตร์ของมะตาดมากนักวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณ Total phenolic และหาสมบัติการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากเนื้อผลและเปลือกผลมะตาด ด้วยวิธีDPPHและ FRAP assay ผลมะตาดตัวอย่างเก็บจากจังหวัดปทุมธานี ทีส่วนศึกษาคือเปลือกและเนื้อผลมะตาดสดและแห้ง มะตาดแห้งเตรียมโดยนำผลมะตาดสดมาอบที่อุณหภูมิประมาณ 45-40OC เป็นเวลา 48 ชั่วโมงหาปริมาณน้ำของผลมะตาดในรูป % ความชื้น นำส่วนเปลือกและเนื้อของผลมะตาดสดและแห้งมาสกัดด้วยเอทานอล โดยวิธีการหมัก นำสารสกัดหยาบที่ได้ไปหาปริมาณ Total Phenolic และหาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระผลการวิจัยพบว่า%ความชื้นของเปลือกและเนื้อของผลมะตาด เท่ากับ 88.40 และ 69.19 ตามลำดับ % ผลผลิตของสารสกัดหยาบจากเนื้อมะตาดแห้งมีค่าสูงที่สุดเท่ากับ 19.06 ส่วนสารสกัดหยาบจากเปลือกมะตาดสด มีค่าต่ำที่สุดเท่ากับ 2.34 ผลการวิเคราะห์หาสารออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระพบว่าสอดคล้องกันทั้งสองวิธีคือสารสกัดจากเนื้อผลมะตาดแห้งมีค่า IC50 น้อยที่สุด เท่ากับ 0.004 mg/ml จึงมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่สุด ส่วนสารสกัดจากเปลมะตาดแห้ง มีค่า IC50 มากที่สุด เท่ากับ 0.26mg/ml มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระน้อยที่สุด สารสกัดหยาบจากเนื้อผลมะตาดแห้งมีปริมาณ Total phenolic มากที่สุดเท่ากับ 80.34 มิลลิกรัมสมมูลกรดแกลลิกต่อกรัม ตัวอย่างรองลงมาเป็นเปลือกผลมะตาดสดและเนื้อผลมะตาดสด และเปลือกผลมะตาดแห้ง มีปริมาณ Total phenolic น้อยที่สุดตามลำดับ (10.29 มิลลิกรัมสมมูลกรดแกลลิกต่อกรัมตัวอย่าง) ผลการวิจัยนี้สรุปว่าสารสกัดจากเนื้อผลและเปลือกผลมะตาดมีปริมาณ Total phenolic และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระปริมาณสูง อาจมีศักยภาพในการเป็นสารต้านการอักเสบหรือสารต้านมะเร็งควรมีการศึกษาสมบัติอื่นๆเพิ่มเติม
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์