การพัฒนากระบวนการผลิตและยืดอายุการเก็บรักษาข้าวหลามใน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ศรัณยา จังโส

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องการพัฒนากระบวนการผลิตและยืดอายุการเก็บรักษาข้าวหลามใน อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตข้าวหลามนครปฐมให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.746/2548) เรื่องข้าวหลาม และยืดอายุการเก็บรักษาโดยใช้สารลดค่าวอเตอร์แอคทิวิตี วิธีการบรรจุและอุณหภูมิในการเก็บรักษาที่เหมาะสม ผลการทดลองพบว่ากระบวนการผลิตที่ดีที่สุดคือการควบคุมสุขลักษณะที่ดีในการผลิตด้านต่าง ๆ เช่นให้ผู้ผลิตสวมหมวก ผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปากและถุงมือ ปฏิบัติงานโดยใช้โต๊ะที่สะอาดและสูงจากพื้นไม่ต่ำกว่า 60 เซนติเมตร และเพิ่มขั้นตอนการต้มฆ่าเชื้อส่วนผสมน้ำกะทิที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส นาน 5 นาที และทำให้เย็นลงอย่างรวดเร็วก่อนเทลงในกระบอกไม้ไผ่ที่สะอาดและปิดด้วยจุกใบตองแห้งที่สะอาด การศึกษาด้านการยืดอายุการเก็บรักษาด้วยสารลดค่าวอเตอร์แอคทิวิตี จัดสิ่งทดลองด้วยวิธี 2x3 แฟคทอเรียลในแผนการทดลองแบบสุ่มโดยตลอด โดยศึกษา 2 ปัจจัยร่วมกัน คือ กลีเซอรอลที่ใช้แทนที่น้ำตาล 2 ระดับ (ร้อยละ 10 และ 15) และซอร์บิทอลที่ใช้แทนที่น้ำตาล 3 ระดับ (ร้อยละ 20, 30 และ 40) พบว่าการใช้กลีเซอรอลร้อยละ 15 ร่วมกับซอร์บิทอลร้อยละ 20 แทนที่น้ำตาลในส่วนผสมเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการยืดอายุการเก็บรักษาข้าวหลาม ทั้งด้านต้นทุนในการผลิต คุณภาพทางจุลินทรีย์และคุณภาพทางประสาทสัมผัส นอกจากนี้จากการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการบรรจุแบบดั้งเดิมและการบรรจุสุญญากาศ ร่วมกับการเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องและอุณหภูมิแช่เย็น พบว่าข้าวหลามที่บรรจุแบบดั้งเดิมร่วมกับการเก็บรักษาในอุณหภูมิแช่เย็นเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดต่อการยืดอายุการเก็บรักษา สภาวะดังกล่าวจะสามารถช่วยยืดอายุการเก็บรักษาได้จากปกติเก็บได้ไม่เกิน 1 วัน เป็นเก็บได้นาน 6 วัน โดยมีคุณภาพทางจุลินทรีย์เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน คุณภาพทางประสาทสัมผัสเป็นที่ยอมรับของผู้ทดสอบชิม และมีต้นทุนในการผลิตต่ำที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ศรัณยา จังโส, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

ชื่อ – นามสกุล                     นาง ศรัณยา  จังโส
Name-Surname               MRS. SARANYA  CHANGSO

ตำแหน่งทางวิชาการ          อาจารย์
Position                              Lecturer

สังกัด                                   สาขาวิชาการจัดการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
Subordinate                      Department of Food Management, Faculty of Science and Technology

ประวัติการศึกษา                 วท.บ. (เทคโนโลยีอาหาร) มหาวิทยาลัยศิลปากร (2548)
                                             วท.ม. (เทคโนโลยีอาหาร) มหาวิทยาลัยศิลปากร (2551)
Education                          Bachelor of Science (Food Technology), Silpakorn University (2005)
                                             Master of Science (Food Technology), Silpakorn University (2008)

ประวัติการทำงาน                2553 – 2555 :  นักวิชาการอาหาร โครงการสถาบันอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
                                             2555 – ปัจจุบัน  :  อาจารย์สาขาวิชาการจัดการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
Experience                        2010 – 2012 :  Food Specialist, Food Institute Project, Nakhon Pathom Rajabhat University
                                             2012 – Present  : Lecturer in Department of Food Management, Faculty of Science and Technology , Nakhon Pathom Rajabhat University

 

References

จารุภัทร ลือชา, วรพจน์ ราชการดี, ชวโรจน์ ดำเนินสวัสดิ์, ฐิติศิลป์ กิจชเวงกุล และภาวินี ดีแท้. (2561). การศึกษาหาสูตรที่เหมาะสมเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์เส้นบะหมี่สด. วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม, 13(1), 71–83.

ปิยะนุช คันโธ. (2545). การยืดอายุการเก็บรักษาขนมเปี๊ยะโดยการใช้สารลดค่าวอเตอร์แอคติวิตี้และบรรจุภัณฑ์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะอุตสาหกรรมเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พัชรา ถาวระ. (2561). การพัฒนายกระดับสถานที่ผลิตข้าวหลามในจังหวัดน่านเข้าสู่มาตรฐานการผลิตขั้นต้น. พุทธชินราชเวชสาร, 35(1), 53-64.

พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์. (2562ก). Retrogradation / รีโทรเกรเดชัน, 30 มกราคม 2563. http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/0591/retrogradation

พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์. (2562ข). Sugar alcohol / น้ำตาลแอลกอฮอล์, 21 ธันวาคม 2562. http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1628/sugar-alcohol

วชิราภรณ์ สุริยนต์. (2560). การยืดอายุการเก็บรักษากาละแมด้วยแซนแทนกัม ฮิวเมกเตนท์ และสภาวะการเก็บ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะอุตสาหกรรมเกษตร, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วราภา มหากาญจนกุล, สิริพร สธนเสาวภาคย์, สุดสาย ตรีวานิช, และปรียา วิบูลย์เศรษฐ์. (2558). การจัดการความปลอดภัยอาหารสำหรับงานบริการอาหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วรารัตน์ สานนท์, ปิยวรรณ ธรรมบำรุง, เพ็ญพักตร์ แกล้วเดชศรี, วิรัติ จันทรทรัพย์ และศรัณยา จังโส. (2561). อดีตถึงปัจจุบันแนวทางการพัฒนาอาหารท้องถิ่นที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 5(1), 130-142.

วโรดม ธุววิโรจน์. (2555). การยืดอายุการเก็บรักษาขนมเปียะกุหลาบโดยใช้สารควบคุมความชื้นและบรรจุภัณฑ์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะอุตสาหกรรมเกษตร, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

วิมลสิริ รุจิภาสพรพงศ์. (2550). การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นและการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน: กรณีศึกษาการทำข้าวหลามในชุมชนพระงาม จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วีรวุฒิ พามี และผจงรักษ์ พันมี. (2561). การศึกษากระบวนการผลิตและสุขลักษณะที่ดีในการผลิตข้าวหลาม. รายงานวิจัยศิลปศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ศิรินทิพย์ แสงสว่าง. (2547). การยืดอายุการเก็บพายไส้เผือกโดยใช้สารคงความชื้นและการปรับสภาพบรรยากาศภายในภาชนะบรรจุ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ. (2549). ความปลอดภัยของอาหาร. กรุงเทพฯ: sister print & media group.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2548). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนข้าวหลาม (มผช. 746/2548), 21 สิงหาคม 2561. http://tcps.tisi.go.th/pub/tcps746_48.pdf

AOAC. (2000). Offical method of analysis. (17th ed.). Virginia: The association of office analytical chemists.

Birkhed, D., Edwardsson, S., Kalfas, S. and Svensater, G. (1984). Cariogenicity of sorbitol. Swedish dental journal, 8, 147-154.

Chirfe, J. and Fontan, C. F. (1980). Prediction of water activity of aqueous solutions in connection with intermediate moisture foods: experimental investigation of the aw lowering behavior of sodium lactate and some related compounds. Journal of food science, 45, 802-804.

Labuza, T. P. and Hyman, C. R. (1998). Moisture migration and control in multi-domain foods. Trends in food science & technology, 9, 47-55.

Singh, H., Lin, J., Huang, W. & Chang, Y. (2012). Influence of amylopectin structure on the rheological and retrogradation properties of waxy rice starches. Journal of cereal science, 56(2), 367-373.

Srirot, K., and Piyachomkwan, K. (2003). Technology of starch. (3th Ed.). Bangkok: Kasetsart University.

Suzuki, A., Tekeda, Y. & Hizukuri, S. (1985). Relationship between the molecular structure and retrogradation properties of tapioca, potato, and kuzu starches. Journal of the japanese society for starch science, 32, 205-212.

Whistler, R. L., and Bemiller, J. N. (1999). Carbohydrate chemistry for food scientist american association of cereal chemists. St. Paul: MN.