ลักษณะกายวิภาคศาสตร์แผ่นใบและก้านใบของพืชสกุลบานไม่รู้โรย (Gomphrena L.) ในประเทศไทย

Main Article Content

อาตีกะห์ จะปะกิยา
อนิษฐาน ศรีนวล
วิโรจน์ เกษรบัว

บทคัดย่อ

ศึกษาลักษณะกายวิภาคศาสตร์แผ่นใบและก้านใบของพืชสกุลบานไม่รู้โรย (Gomphrena L.) ในประเทศไทย จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ Gomphrena celosioides Mart., G. globosa L. และ G. serrata L. เพื่อบรรยายลักษณะกายวิภาคศาสตร์ สร้างรูปวิธานสำหรับระบุชนิดพืช และเป็นฐานข้อมูลของพืชสกุลบานไม่รู้โรยในประเทศไทย โดยเตรียมสไลด์ตัวอย่างด้วยกรรมวิธีลอกผิว (Peeling method) และกรรมวิธีพาราฟฟิน (Paraffin method) ศึกษาลักษณะกายวิภาคศาสตร์ด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง ผลการศึกษาพบลักษณะสำคัญที่สามารถนำมาระบุชนิดพืชได้คือ 1) รูปร่างและลักษณะผนังเซลล์ด้านตั้งฉากกับผิวของเซลล์ในเนื้อเยื่อชั้นผิว 2) รูปร่างเส้นกลางใบด้านล่าง 3) การมีหรือไม่มีเนื้อเยื่อคอลเลงคิมาในก้านใบ และ 4) ความหนาแน่นของไทรโคมบริเวณเนื้อเยื่อชั้นผิวใบด้านล่าง พืชที่มีความหนาแน่นของไทรโคมมากที่สุดคือ G. celosioides (23 ± 2.57 ไทรโคมต่อตารางมิลลิเมตร) และพืชที่มีความหนาแน่นน้อยที่สุดคือ G. serrata (11 ± 2.31 ไทรโคมต่อตารางมิลลิเมตร)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พงศ์เทพ สุวรรณวารี. (2558). การสำรวจชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในพื้นที่เกาะช้างและหมู่เกาะใกล้เคียง จังหวัด ตราด. สืบค้นจาก http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/bitstream/123456789/5794/1/Fulltext.pdf

สำนักงานหอพรรณไม้. (2557). ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันท์ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

Carvalho, S. M. F. D., Gomes, M. R. D. A., Silva, P. Í. T., & Báo, S. N. (2010). Leaf surfaces of Gomphrena spp. (Amaranthaceae) from Cerrado biome. Biocell, 34(1), 23-35.

Carolin, R., Jacobs, S., & Vesk, M. (1978). Kranz cells and mesophyll in the Chenopodiales. Australian Journal of Botany, 26(5), 683-698.

Chayamarit, K. (Eds.). (1992). Flora of Thailand vol. 5 part 4. Bangkok: Office of the Forest Herbarium Department of National Parks.

Chen, S. H., & Li, Y. C. (2012). Remarks on the species of Gomphrena (Amaranthaceae) of Taiwan. Taiwania, 57(3), 312-317.

El-Ghamery, A. A., Sadek, A. M., & Abdelbar, O. H. (2017). Comparative anatomical studies on some species of the genus Amaranthus (Family: Amaranthaceae) for the development of an identification guide. Annals of Agricultural Sciences, 62(1), 1-9.

Johansen, D. A. (1940). Plant Microtechnique. London: Editorial McGraw-Hill.

Metcalfe, C. R., & Chalk, L. (1957). Anatomy of the dicotyledons (Vol. 2). London: At The Clarenden Press.

Ogundipe, O., Ajayi, G., & Adeyemi, T. (2008). Phytoanatomical and antimicrobial studies on Gomphrena celosioides Mart. Hamdard Medicus, 51(3), 146-156.

Prasanth, D. S. N. B. K. (2018). Preliminary phytochemical, pharmacognostic and physicochemical evaluation of leaf of Gomphrena serrata. Advanced Herbal Medicine, 4(2), 16-25.

Sage, R. F., Sage, T. L., Pearcy, R. W., & Borsch, T. (2007). The taxonomic distribution of C4 photosynthesis in Amaranthaceae sensu stricto. American Journal of Botany, 94(12), 1992-2003.