สมบัติทางกายภาพและอัตราการดูดซับความชื้นของถ่านผลไม้
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาสมบัติทางกายภาพและอัตราการดูดซับความชื้นของถ่านจากผลไม้ 6 ชนิด คือ ถ่านสับปะรด ถ่านเปลือกทุเรียน ถ่านข้าวโพด ถ่านกล้วย ถ่านมังคุดและถ่านเงาะ โดยสมบัติทางกายภาพที่ศึกษา คือ ค่าความร้อน ความชื้น ดัชนีแตกร่วนและร้อยละความพรุนปรากฏ พบว่าถ่านที่ค่าความร้อนสูงสุดคือถ่านข้าวโพด รองลงไปถือถ่านสับปะรด ถ่านจากเปลือกทุเรียน ถ่านกล้วย ถ่านมังคุดและถ่านเงาะตามลำดับ ถ่านทุกชนิดมีค่าความร้อนไม่ต่ำกว่า 5,000 cal/g อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน มผช. 238/2547 ค่าดัชนีแตกร่วนอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน 0.5 ถึง 1 และถ่าน 3 ชนิดมีค่าความชื้น มากกว่าร้อยละ 8 เกินเกณฑ์มาตรฐานคือ ถ่านสัปปะรด ถ่านข้าวโพด ถ่านเปลือกทุเรียน มีค่าดังนี้ 15.47±2.36 10.51±0.54 และ 8.31±1.26 ตามลำดับ สำหรับคุณสมบัติในการดูดซับความชื้นของถ่านผลไม้พบว่า ถ่านจากสับปะรดมีอัตราการดูดซับความชื้นสูงที่สุด คือ ร้อยละ 11.613 ต่อวัน รองลงไปคือ ถ่านเปลือกทุเรียนมีอัตราการดูดซับความชื้น คือ ร้อยละ 9.858 ต่อวันและถ่านข้าวโพดมีอัตราการดูดซับความชื้น คือ ร้อยละ 4.602 ต่อวัน ตามลำดับ โดยปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราการดูดซับความชื้นคือ ร้อยละความพรุนปรากฏของถ่านผลไม้ มีค่าดังนี้ 38.07±4.87 39.90±1.75 42.99±1.32 28.28±3.09 27.72±2.55 และ 49.87±0.26 ตามลำดับ จากผลที่ได้เมื่อพิจารณาจากค่าความร้อนและค่าความชื้นทำให้ถ่านข้าวโพดมีความเหมาะสมมากกว่าถ่านสัปปะรด ที่จะนำไปใช้เป็นถ่านหุงต้ม แต่ถ่านสัปปะรดมีความเหมาะสมมากกว่าถ่านข้าวโพดและเปลือกทุเรียนในการทำเป็นถ่านดูดความชื้นเมื่อพิจารณาจากความพรุนปรากฏและอัตราการดูดความชื้นของถ่านผลไม้ทั้ง 6 ชนิด
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
จรูญ เก่งเขตรวิทย์, ดลฤดี ใจสุทธิ์, รติยา ธุวพาณิชยานันท์, สุดสายสิน แก้วเรือง, และประสาน
สถิตเรืองศักดิ์. (2014). การศึกษาผลของอุณหภูมิช่วงการเผาไหม้ต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
และค่าไอโอดีนในถ่านมังคุดดูดกลิ่น. Agricultural Sci. J., 45(2), 333-336.
จันทร์เพ็ญ ชุมแสง, และพิทักษ์ อุปัญญ์. (2562). รายงานการวิจัยการจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยี
การผลิตถ่านดูดกลิ่น 3 In 1 จากวัสดุเหลือทิ้งตาลโตนดเพื่อการส่งเสริมอาชีพและยกระดับ
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.
วันโชค เครือหงษ์, โสภณ สังข์แป้น, ประภิต สิทธิ์คณารักษ์, และจีระศักดิ์ วิลัยรัตน์. (2559). สมบัติทางกล
โครงสร้างจุลภาคและการนำความร้อนของคอนกรีตบล็อกผสมเถ้าลอย. วารสารวิจัยและพัฒนา
มจธ., 39(3), 407-423.
ศุภกร เชื้ออ่ำ, ศิรินทร ทองแสง, และแววบุญ แย้มแสงสังข์. 2561. สมบัติของเชื้อเพลิงอัดแท่งจากซัง
ข้าวโพดและกากตะกอนน้าเสียจากอุตสาหกรรมพลาสติก. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ
เสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติครั้งที่ 19 (หน้า 146-154), 9 มีนาคม พ.ศ. 2561 ณ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนแก่น.
สุวดี จางอิสระกุล, อับดุลลาตีฟ ดอรอแม, อาริษา เรืองมี, และชญานุช แสงวิเชียร. 2552. ชีวมวลทางเลือก
ใหม่สำหรับพลังงานทดแทนโดยเปลือกลูกยางและหญ้าแฝก. การประชุมวิชาการเครือข่าย
พลังงานแห่งประเทศไทยครั้งที่ 5, 29 เมษายน – 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร
พิษณุโลก.
Asim, M., Abdan, K., Jawaid, M., Nasir M., Dashtizadeh, Z., Ishak, M.R. & Hoque, M.E. (2015).
A review on pineapple leaves fibre and its composites. International Journal
of Polymer Science, 2015, Article ID 950567. http://dx.doi.org/10.1155/2015/950567
Dias Júnior, A.F., Pirola, L.P., Takeshita, S., Lana, A.Q., Brito, J.O. & Andrade, A.M. (2016).
Higroscopicity of charcoal produced in different temperatures. CERNE, 22(4), 423-430.
Mukti, N.I.F., Prasetyo, I., Mindaryani, A. & Septarini, S. (2018). Preparation of porous carbon
as ethylene adsorbent by pyrolysis of extraction waste mangosteen rinds.
MATEC Web of Conferences, 154, 01032.
https://doi.org/10.1051/matecconf/201815401032
Mullen, C.A., Boateng A.A., Goldberg, N.M., Lima, I.M., Laird, D.A. & Hicks, K.B. (2010).
Bio-oil and bio-char production from corn cobs and stover by fast pyrolysis.
BIOMASS AND BIOENERGY, 34, 67 – 74.
Nuithitikul, K., Srikun, S. & Hirunpraditkoon, S. (2015). Synthesis of activated carbons from
durian peel and their adsorption performance for lead ions in aqueous
Solutions. ATINER'S Conference Paper Series, No: ENV2015-1670. Athens:Greece.
Rosal, A., Rodríguez, A., González, Z. & Jiménez, L. (2012). Use of banana tree residues as
pulp for paper and combustible. International Journal of Physical Sciences,
(15), 2406 – 2413. doi: 10.5897/IJPS11.1661
Takolpuckdee P. (2014). Transformation of agricultural market waste disposal to biochar
soil amendments. Procedia Environmental Sciences, 20, 64 – 70.
Yu, S., Cui, Y., Shao, Y. & Han, F. (2019). Research on the comprehensive performance of
hygroscopic materials in an office building based on energyplus. Energies, 12(191).
doi:10.3390/en12010191