ผลของน้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วเหลืองฝักสด (Glycine max (L.) Merill)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของใช้น้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วเหลืองฝักสดได้ทำการปลูกทดสอบในพื้นที่ตำบลตะค่า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ทำการทดลองในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน 2561 โดยใช้ถั่วเหลืองฝักสดพันธุ์เชียงใหม่ 84-2 และ พันธุ์เชียงใหม่ 1 วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) จำนวน 4 สิ่งทดลอง 3 ซ้ำ สิ่งทดลองเปรียบเทียบการใช้น้ำหมักชีวภาพ คือ 1) การไม่ใช้น้ำหมักชีวภาพ 2) การใช้น้ำหมักปลา 3) การใช้น้ำหมักหอยเชอรี่ 4) การใช้น้ำหมักผลไม้ ผลการทดลองพบว่า การใช้น้ำหมักชีวภาพมีผลการตอบสนองในพันธุ์เชียงใหม่ 84-2 แต่พันธุ์เชียงใหม่ 1 ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ โดยผลของการใช้น้ำหมักชีวภาพในถั่วเหลืองฝักสดพันธุ์เชียงใหม่ 84-2 พบว่า การใช้น้ำหมักหอยเชอรี่และน้ำหมักผลไม้ให้ค่าการเจริญเติบโตด้านจำนวนกิ่งต่อต้นสูงที่สุดคือ 7.50-8.17 กิ่ง และผลผลิตสูงที่สุด ได้แก่ จำนวนฝักต่อต้น 22.83-23.83 ฝัก จำนวนเมล็ดดีต่อต้น 27.50-39.67 เมล็ด และน้ำหนักเมล็ดดีต่อต้น 13.28-20.96 กรัม
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2546). สารเร่งประเภทจุลินทรีย์ พด.1 พด.2 พด.3 สำหรับเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและผลผลิตการเกษตร. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2550). เอกสารเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยี ชุดความรู้และเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน เรื่องมีอะไรในปุ๋ยอินทรีย์น้ำ (สนท.010008-2550). กรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ: สำนักนิเทศและถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรงเกษตรและสหกรณ์.
กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2554). เอกสารเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยี ชุดความรู้และเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน เรื่องการผลิตปุ๋ยน้ำชีวภาพจากหอยเชอรี่ (สนท.020018-2554). กรุงเทพฯ: สำนักนิเทศและถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรงเกษตรและสหกรณ์.
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2562). ถั่วเหลืองฝักสด : พื้นที่เพาะปลูก 2561/62. สืบค้นจาก http://www.agriinfo.doae.go.th/year62/plant/rortor/agronomy/22.pdf
มนทนา รุจิระศักดิ์, และพิทยา เกิดนุ่น. (2557). การใช้น้ำหมักไข่หอยเชอรี่เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว, วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 6(1), 73-80.
รัชตา ทนวิทูวัตร. (2559). อิทธิพลของการใส่ปุ๋ยต่อองค์ประกอบผลผลิต และผลผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองฝักสดกลิ่นหอม, วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(3), 55-63.
สมเกียรติ สุวรรณคีรี. (2547). ปุ๋ยน้ำชีวภาพหรือน้ำสกัดชีวภาพและการประยุกต์ใช้ในกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (อีเอ็ม) (ด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อม). เชียงใหม่: ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุพรรณี ปัญญาจีน, ทรงเชาว์ อินสมพันธ์, และดำเนิน กาละดี. (2553). การตอบสนองต่อแคลเซียมและโบรอนในถั่วเหลืองฝักสด, วารสารเกษตร, 26(1): 59-68.
Herawati, J., & Munadi, E. (2017). Effect of basic fertilizer doses and liquid organic fertilizer concentration on soybean yield. Journal of Agricultural Biotechnology and Sustainable Development, 9(6), 45-53.