ผลของการทดแทนเกลือโซเดียมคลอไรด์ด้วยเกลือโพแทสเซียมคลอไรด์ต่อคุณภาพของข้าวเกรียบหอยนางรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทดแทนเกลือโซเดียมคลอไรด์ด้วยเกลือโพแทสเซียมคลอไรด์ในผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบหอยนางรม ทำการศึกษาคุณภาพทางเคมี จุลินทรีย์ และการยอมรับทางประสาทสัมผัสของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบลดโซเดียม โดยการทดแทนเกลือโซเดียมคลอไรด์ด้วยเกลือโพแทสเซียมคลอไรด์ที่แตกต่างกัน 5 ระดับ คือ ร้อยละ 0 (สูตรควบคุม) 25, 50, 75 และ 100 และลดปริมาณผงปรุงรสจากสูตรพื้นฐานลงร้อยละ 50 พบว่า ข้าวเกรียบหอยนางรมที่ทดแทนเกลือโซเดียมคลอไรด์ด้วยเกลือโพแทสเซียมคลอไรด์ที่ร้อยละ 100 ผู้ทดสอบไม่รับรู้รสขม มีคะแนนการยอมรับทางประสาทสัมผัสด้านลักษณะปรากฏ สี ความกรอบ ความเค็ม และความชอบโดยรวม ไม่มีความแตกต่างจากข้าวเกรียบหอยนางรมสูตรควบคุม โดยได้รับคะแนนความชอบด้านสี ในระดับชอบมาก ด้านลักษณะปรากฏ กลิ่นรส รสชาติ ความกรอบ และการยอมรับโดยรวม ในระดับชอบปานกลาง และความชอบด้านความเค็ม อยู่ในระดับชอบเล็กน้อย คุณภาพด้านความชื้นในข้าวเกรียบหอยนางรมสูตรลดโซเดียม มีความชื้นเท่ากับ ร้อยละ 2.06 และมีปริมาณโซเดียมเท่ากับ 882.33 mg/100g ซึ่งมีปริมาณโซเดียมลดลงจากสูตรพื้นฐาน หรือมีปริมาณโซเดียมลดลงจากสูตรเดิม ร้อยละ 35.65 ซึ่งสามารถกล่าวอ้างได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ลดโซเดียมตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 182 (2541) และมีปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดน้อยกว่า 30 CFU/g มีเชื้อ Escherichia coli น้อยกว่า 3.0 MPN/g เชื้อ Staphylococcus aureus น้อยกว่า 10 CFU/g และตรวจไม่พบเชื้อรา ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เรื่อง ข้าวเกรียบ (มผช.107/2554)
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2541). ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 182 เรื่อง ฉลากโภชนาการ. สืบค้นจาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2541/D/047/23.PDF
ชาติชาย วิลัยลักษณ์ และสุจินดา ศรีวัฒนะ. (2553). ผลของการทดแทนการใช้เกลือโซเดียมคลอไรด์ด้วย
เกลือโปแทสเซียมคลอไรด์ในไส้กรอกแฟรงค์แฟอร์เตอร์. การประชุมทางวิชาการของ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48, 3-5 กุมภาพันธ์ 2553 ณ สาขาอุตสาหกรรมเกษตร. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
วันทนีย์ เกรียงสินยศ. (2555). ลดโซเดียมยืดชีวิต. สืบค้นจาก http://110.164.147.155/kmhealth_
new/Documment/blood/approach/10.pdf
วิฑูรย์ ปริญญาวิวัฒน์กุล และสุจินดา ศรีวัฒนะ. (2556). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไส้กรอกเวียนนาลดโซเดียม. สืบค้นจาก http://www3.rdi.ku.ac.th/wp-contents/uploads/2013/12/Final-
Report-of-Reduced-Na-Sausage.pdf
ศรายุทธ์ จิตรพัฒนากุล และกุลพร พุทธมี. (2558). การพัฒนาเพิ่มผลผลิตข้าวเกรียบหอยนางรมดิบแห้งด้วยเครื่องอบแห้งแบบลมร้อน. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 10 (1), 17-26.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2554). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ข้าวเกรียบ. สืบค้นจาก
http://tcps.tisi.go.th/pub/tcps107_54.pdf
AOAC. (2000). Official Methods of the Association of Official Analytical Chemists.
th Edition. Association Official Analytical Chemists, Washington DC.
BAM. (2001). Bacteriological Analytical Manual online, Chapter 12 on Staphylococcus
aureus. U.S. Food and Drug Administration. Retrieved from
http://www.fda.gov/Food/FoodScienceResearch/LaboratoryMethods/ucm071429.htm
BAM. (2013). Bacteriological Analytical Manual online, Chapter 4 on Enumeration of
Escherichia coli and the Coliform Bacteria.U.S. Food and Drug Administration.
Retrieved from http://www.fda.gov/Food/FoodScienceResearch
/LaboratoryMethods/ucm064948.htm.