การหาประสิทธิภาพของเครื่องสีข้าวขนาดเล็กสำหรับการสีข้าวพันธุ์การค้าจังหวัดชัยนาท
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพในการสีข้าวพันธุ์การค้าจังหวัดชัยนาทของเครื่องสีข้าวขนาดเล็ก โดยการหาค่าระดับความเร็วและระยะห่างลูกกลิ้งยางที่เหมาะสมในการสีข้าวขาวและข้าวกล้อง การทดสอบในครั้งนี้ทำการเลือกข้าวที่นำมาทดสอบจำนวน 3 สายพันธุ์คือ ข้าวชัยนาท1 ข้าวไรซ์เบอร์รี่ และข้าวหอมปทุม จากชุมชนบ้านหัวตะพาน อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ปริมาณข้าวที่นำมาทดลองครั้งละ 1 กิโลกรัม การทดสอบจะทำการควบคุมระดับความชื้นของข้าวเปลือกเท่ากับ 15 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นทำการทดสอบด้วยการปรับค่าความเร็วของมอเตอร์และปรับระยะห่างของลูกกลิ้งยางที่เหมาะสมกับการสีข้าวของแต่ละสายพันธุ์ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ค่าระดับความเร็วขอบลูกกลิ้งยางที่เหมาะสมของข้าวชัยนาท1 ลูกกลิ้งยาง ก ข และ ค เท่ากับ 1,009.0 590.3 และ1,019.0 rpm ตามลำดับ ข้าวไรซ์เบอร์รี่มีค่าระดับความเร็วขอบของลูกกลิ้งยาง ก ข และ ค เท่ากับ 1,110.3 649.9 และ1,123.7 rpm ตามลำดับ และข้าวหอมปทุม ลูกกลิ้งยาง ก ข และ ค เท่ากับ 861.8 503.9 และ 870.2 rpm ตามลำดับ ค่าระยะห่างระหว่างลูกกลิ้งยางเท่ากับ 1 มิลลิเมตร สำหรับข้าวหอมปทุม ระยะห่างลูกกลิ้งยางเท่ากับ 0.9 มิลลิเมตร สำหรับข้าวไรซ์เบอร์รี่และข้าวชัยนาท1 ดังนั้นผลการทดสอบพบว่าประสิทธิภาพของเครื่องสีข้าวขนาดเล็กสามารถสีข้าวชัยนาท1 ผลการทดสอบได้ข้าวขาวคิดเป็น 65 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักข้าวเปลือกที่ป้อน ข้าวไรซ์เบอร์รี่ได้ข้าวกล้องเท่ากับ 76 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักข้าวเปลือกที่ป้อน และข้าวหอมปทุมได้ข้าวขาวคิดเป็น 75 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักข้าวเปลือกที่นำป้อน ผลการเปรียบเทียบทั้งสามพันธุ์ข้าวพบว่าเมื่อทำการปรับค่าความเร็วขอบลูกยางและระยะห่างลูกกลิ้งที่เหมาะสมกับแต่ละชนิดของพันธุ์ข้าวแล้วส่งผลให้การสีข้าวขาวมีปริมาณการแตกหักน้อยลงและผลการทดสอบของพันธุ์ข้าวหอมปทุมได้ปริมาณข้าวขาวมากกว่าพันธุ์ชัยนาท1 และสำหรับข้าวไรซ์เบอร์รี่สามารถทำการสีข้าวเพียงรอบเดียวจากเดิมต้องทำการสีข้าวซ้ำ 2 ครั้ง และผลการของสีข้าวกล้องนั้นเป็นที่น่าพึงพอใจมาก
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
จักรกฤษณ์ เคลือบวงศ์, อรัญ ตาเขียว, สุรวุฒิ รุ่งสว่าง, และกาญจนา ท้าวบุตร. (2557). การพัฒนาเครื่องสีข้าวขนาดเล็กด้วยโปรแกรมเมเบิ้ลลอจิกคอนโทรล. ปริญญานิพนธ์ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.
ธนัสถ์ นนทพุทธ, กรภัทร เฉลิมวงศ์, ศักดิ์ชัย ตันติวิวัทน์, และณชพร รัตนาภรณ์. (2558). เครื่องสีข้าวกล้องขนาดเล็กสำหรับครัวเรือน, วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร. (ฉบับพิเศษ), 489-498.
นิทัศน์ ตั้งพินิจกุล, อารีย์ ทิมินกุล และวิบูลย์ เทเพนทร์. (2548). เครื่องสีข้าวขนาดเล็ก. สืบค้นจาก http://www.doa.go.th/aeri/?p=884
สมาคมโรงสีข้าวไทย. (2561). สรุปรายงานราคาข้าวสารและราคาข้าวเปลือกเฉลี่ยแต่ละเดือนประจำปี 2561 ของสมาคมโรงสีข้าวไทย. สืบค้นจาก www.thairicemillers.org
สุรพงศ์ บางพาน, และพีรพันธ์ บางพาน. (2555). เครื่องสีข้าวขนาดเล็กแบบเปิด. การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 13, 4-5 เมษายน 2555 โรงแรมอิมพีเรียล แม่ปิง. เชียงใหม่: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุรินทร์ แหงมงาม, ศศิวรรณ อินทรวงศ์, ธีรวัฒน์ แม้นพวก, ธนาวุฒิ ชินบุตร, อนาวิน กรรณแก้ว, และภูมิใจ เหล่าผง. (2558). เครื่องสีข้าวขนาดเล็กสำหรับใช้ในครัวเรือน. การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการรูปแบบพลังงานทดแทนสู่ชุมชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 8, 4-6 พฤศจิกายน 2558 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.ปทุมธานี: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2559). ผลการผลิตข้าวแยกตามจังหวัดปี พ.ศ.2559. สืบค้นจาก http://mis-app.oae.go.th