การวิเคราะห์ระยะห่างทางสังคมในการสอบออนไลน์ของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาในช่วงภาวะวิกฤติโควิด-19 ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

Main Article Content

กนกมน รุจิรกุล
ไกรศรี เต้นปักษี
รัตนา รุจิรกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาการกระจายเชิงพื้นที่และวิเคราะห์ระยะห่างทางสังคมในการสอบออนไลน์ของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจและสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาในช่วงภาวะวิกฤติโควิด โดยใช้ข้อมูลตำแหน่งที่อยู่ของนักศึกษาในขณะที่สอบออนไลน์ จำนวน 170 คน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธีคือนำข้อมูลที่อยู่ของนักศึกษาซึ่งเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ จัดกระทำให้เป็นข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วยโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ วิเคราะห์สถิติเชิงบรรยายด้วยโปรแกรมทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาวิธีการสร้างฐานข้อมูลเชิงพื้นที่จากตำแหน่งในการสอบออนไลน์ของนักศึกษาจากข้อมูล Google forms ซึ่งกรอกลงใน Google forms แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วย Google sheets เพื่อทำแผนที่บน Google maps มีตำแหน่งพิกัดที่คลาดเคลื่อนอยู่ร้อยละ 5.8 ถูกต้องร้อยละ 94.2  แสดงว่าสามารถระบุตำแหน่งได้ดี 2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ดัชนีบ้านใกล้ด้วยโปรแกรม QGIS แสดงว่าเป็นรูปแบบการกระจายแบบกลุ่ม (Rn = 0.55)  และการแสดงผลบนแผนที่พบว่าตำแหน่งที่นักศึกษาทำการสอบกระจุกตัวหนาแน่นมากในบริเวณใกล้มหาวิทยาลัย คือพื้นที่ อำเภอเมืองนครราชสีมา 3) ผลการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมทางสถิติพบว่าระยะห่างทางสังคมในการสอบออนไลน์ของนักศึกษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 10,322.9 เมตร (S.D. = 30,269.6) คู่ที่มีระยะห่างทางสังคมเป็นระยะทางที่สั้นที่สุดเท่ากับ 0.00 เมตร คู่ที่มีระยะห่างทางสังคมเป็นระยะทางที่ยาวที่สุดเท่ากับ 236,541.5 เมตร   เมื่อแบ่งช่วงระยะทางที่สั้นที่สุดของระยะห่างทางสังคมออกเป็นช่วงละ 500 เมตร พบว่าร้อยละ 50.0 อยู่ในกลุ่มที่ระยะทางที่สั้นที่สุดของระยะห่างทางสังคมมากกว่า 2,500 เมตร  รองลงมาคืออยู่ในระยะไม่เกิน 500 เมตร (ร้อยละ 16.5)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. (2563). สถานการณ์ภาพรวมทั่วโลก. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/ind_world.php

คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 กรมควบคุมโรค. (2563). ที่ สธ. 0410.7/ว. หนังสือราชการเรื่องมาตรการและแนวทางการดำเนินการเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)). 19 มีนาคม 2563.

ชิงชัย หุมห้อง. (2562). การใช้เครื่องมือ Field Calculator ในการแปลงระบบพิกัด โดยใช้ QGIS 3. สืบค้นจาก https://medium.com/mapedia/การใช้เครื่องมือ-field-calculator-ในการแปลงระบบพิกัด-โดยใช้-qgis-3-3f42599e0c56

ปรีชา บินมาโนช. (2563). ราชภัฏโคราช ลุย! เปิดสอนออนไลน์ ฝ่าวิกฤติ COVID-19. สืบค้นจาก http://www.todayhighlightnews.com/2020/03/covid-19_89.html

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. (2562). ระบบฐานข้อมูลคะแนนสอบ NRRU E-Testing 2019 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. สืบค้นจาก https://etest.nrru.ac.th/eteacher/

ศิริพร จิรวัฒน์กุล. (2558). การวิจัยผสานวิธี: ผสานอย่างไรให้ถูกต้องในงานวิจัยสุขภาพ. วารสารสภาการพยาบาล, 30 (4), 5-18.

Awesome Table. (2021). AwesomeTable Support. Retrieved from https://support.awesome-table.com/hc/en-us/articles/360000112449--Part-2-Geocode-addresses

McGrew Jr., J. C., & Monroe, C. B. (2000). An Introduction to Statistical Problem Solving in Geography. (2nd ed.). United States of America: Waveland Press, Inc.

Meyer, I. & Haggett, R. J. (1979). Settlements geography : Theory in practice. New York: Harper and Row.