ระบบสาธิตผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับชุมชนฐานรากระดับครัวเรือน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในการทำวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาระบบสาธิตผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับชุมชนฐานรากระดับครัวเรือน และบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอนของโรงเรียน งานวิจัยนี้ได้พัฒนาชุดสาธิตระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ติดตั้งอุปกรณ์ลงบนแผ่นไวท์บอร์ดขนาดความกว้าง 82 เซนติเมตร ยาว 110 เซนติเมตร และหนา 22 เซนติเมตร โดยกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์ ขนาด 120 วัตต์ ผ่านอุปกรณ์ควบคุมการชาร์จประจุขนาด 20 แอมแปร์ ลงในแบตเตอรี่ขนาด 12 โวลต์ 80 แอมแปร์ แปลงกระแสไฟฟ้ากระตรงให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับด้วยอินเวอร์เตอร์ขนาด 1,000 วัตต์ ติดตั้งวงจรป้องกันการใช้กระแสไฟฟ้าเกิน รุ่น XH-M609 ทำงานร่วมกับโซลิดสเตจรีเลย์ ขนาด 40 แอมแปร์ ทดสอบเก็บกระแสไฟฟ้าที่ระดับค่าความลึกของการคายประจุไฟฟ้า 3 ระดับ คือ ร้อยละ 40 (12.20 โวลต์) ร้อยละ 60 (11.90 โวลต์) และร้อยละ 80 (11.50 โวลต์) ผลการศึกษา พบว่า ความเหมาะสมต่อการเก็บประจุไฟฟ้าให้เต็มภายใน 1 วัน อยู่ที่ระดับความลึกของการคายประจุไฟฟ้าร้อยละ 40 โดยสามารถชาร์จกระแสไฟฟ้าให้เต็มแบตเตอรี่ภายในระยะเวลา 6, 8 และ 11 ชั่วโมง ตามลำดับ สามารถยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ให้นานขึ้น รอบการชาร์จสูงขึ้น หลังบูรณการการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6 ของโรงเรียนวัดมงคลวุฒาวาส ร่วมกับนักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณาจารย์ และผู้ที่สนใจทั่วไปจำนวนรวม 217 คน ทำแบบประเมินความพึงพอใจ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1) กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีพลังงานไฟฟ้ามากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.40 คิดเป็นร้อยละ 88.00 2) กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อความรู้ความสามารถของวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.60 คิดเป็นร้อยละ 92.00 และ 3) ด้านการนำความรู้ไปใช้ คือ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ด้านการลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.54 คิดเป็นร้อยละ 90.80
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กันต์ อินทุวงศ์. (2556). การถ่ายทอดเทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากอ้อยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน. วารสารบัณฑิตศึกษา, 10(51), 9-16.
โซล่าเซลล์ ไทยแลนด์96. (2556). หน้าที่และหลักการทำงานคอนโทรลชาร์จโซล่าเซลล์(solar charge controller) หรือโซล่าชาร์จเจอร์ (solar charge). สืบค้นจาก https://solarcellthailand96.com/knowledge/solar-charge-controller/
โซล่าเทคเซ็นเตอร์. (2561). PV-1200P แผงโซล่าเซลล์ 300w 4 แผ่น ใช้ไฟได้ทั้งบ้านไม่รวมแอร์ได้จริงหรือ. สืบค้นจาก https://www.solartech-center.com/article/4/pv-1200.php
ทรงศักดิ์ พงษ์หิรัญ และธัญรพ นิลกำจร. (2555). ผลของมุมเอียงของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ในพื้นที่ มศว. วารสารวิทยาศาสตร์ มศว, 28(2), 89-102.
นครินทร์ รินผล. (2559). คู่มือการออกแบบระบบไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์เบื้องต้น. กรุงเทพ ฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
ยุทธพงษ์ ทองช่วง. (2559). การวิเคราะห์และออกแบบชุดควบคุมการประจุไฟฟ้าแบบสมาร์ทสำหรับแบตเตอรี่ในระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์. วิทยานิพนธ์ วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
รัชต มั่งมีชัย. (2557). การอ่านข้อมูลแบตเตอรี่ตะกั่วกรด. สืบค้นจาก http://www.mut.ac.th/research-detail-33
รุ่งสว่าง บุญหนา. (2561). การสร้างเครื่องสีข้าวกล้องสำหรับชุมชน พลังงานแสงอาทิตย์. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา, 2(2), 61-70.
วิชิต มาลาเวช. (2556). ชุดสาธิตการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยระบบพลังงานทดแทนแบบผสมผสาน. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 16(3), 29-38.
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2561). มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย : ระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา. กรุงเทพ ฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศรายุทธ์ จิตรพัฒนากุล, กฤษณะ จันทสิทธิ์ และคมสัน มุ่ยสี. (2561). การพัฒนาจักรยานปั่นร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์ผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับใช้ในครัวเรือน. วารสารวิจัยรำไพรรณี, 12(3), 90-98.