ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคของผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

ทัศพร ชูศักดิ์
นันทพร ภูมิแสนโคตร

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับวัณโรคและพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคของผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ โดยอาศัยอยู่ร่วมกับผู้ป่วย วัณโรค อย่างน้อยเป็นเวลา 6 เดือน และมีอายุไม่ต่ำกว่า 12 ปี มีจำนวน 110 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับ เท่ากับ 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 55.5 มีอายุต่ำสุด 12 ปี อายุสูงสุด 82 ปี สถานภาพสมรสคู่และอยู่ด้วยกัน ร้อยละ 69.1 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 78.2 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 54.5 มีรายได้ต่ำสุด 700 บาท มีรายได้สูงสุด 25,000 บาท มีความสัมพันธ์โดยเป็นสามี/ภรรยากับผู้ป่วยวัณโรค ร้อยละ 34.5 ส่วนใหญ่คิดว่าการใกล้ชิด/สัมผัสกับผู้ป่วยเป็นเรื่องปกติ ร้อยละ 79.1 กลุ่มตัวอย่าง มีการรับรู้เกี่ยวกับวัณโรคระดับปานกลาง ร้อยละ 49.1 ด้านการรับรู้ความรุนแรงต่อการเกิดโรควัณโรค ระดับปานกลาง ร้อยละ 55.4 ด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรควัณโรค ระดับ ปานกลาง ร้อยละ 62.4 ด้านการรับรู้ประโยชน์ในการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรควัณโรค ระดับปานกลาง ร้อยละ 52.3 และด้านการรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรควัณโรค ระดับปานกลาง ร้อยละ 56.2 และมีพฤติกรรมการป้องกันวัณโรค ระดับต่ำ ร้อยละ 51.8

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. (2556). แนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

กระทรวงสาธารณสุข. (2556). แนวทางปฏิบัติในการสอบสวนกรณีสงสัยการระบาดของวัณโรค. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

ธารารัตน์ ดวงแข. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการติดต่อโรคของสมาชิกในครัวเรือนผู้ป่วยวัณโรค. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ธีระพงษ์ จ่าพุลี. (2553). พฤติกรรมการป้องกันวัณโรคในผู้สัมผัสร่วมบ้านกับผู้ป่วยวัณโรคปอด อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปิยวรรณ สิงห์คำป้อง. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดวัณโรคปอดในผู้สัมผัสร่วมบ้าน

ที่อาศัยอยู่ร่วมกับผู้ป่วยวัณโรค จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Bandara, A. (1986). Social Foundations of Thought and Action. New Jersey: Prentice-Hall, lnc.

Best, J. (1977). Research in Education. New Jersey: Prentice Hall, Inc.

Word Health Organization (2006). Treatment of Tuberculosis Guidelines for National Programmes. 3rd ed. Italy: Jotto Associati s.a.s.