การศึกษาความผิดเพี้ยนเชิงฮาร์โมนิกของกระแสเอาท์พุต ในวงจรเรียงกระแสแบบบริดจ์ควบคุมได้ 1 เฟสร่วมกับตัวเก็บประจุ

Main Article Content

คมศักดิ์ หาดขุนทด

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการศึกษาค่าของตัวเก็บประจุในวงจรเรียงกระแสควบคุมได้ 1 เฟสแบบบริดจ์ โดยศึกษาถึงความผิดเพี้ยนของกระแสที่เกิดจากฮาร์โมนิก (Harmonic Current Distortion ) ทางด้านเอาต์พุตของวงจร, ตัวประกอบกำลัง (Power Factor , PF) และ การไหลของกระแสเอาท์พุตว่าเป็นไปอย่างต่อเนื่องหรือไม่โดยศึกษาผ่านวงจรเรียงกระแสแบบบริดจ์ควบคุมได้ 1 เฟสอย่างง่าย  โดยใช้ OrCAD  PSpice  จำลองการทำงานโดยการลดกระแสในฮาร์โมนิกที่   2 ลงครั้งละ 10 % แล้วคำนวณหาค่าตัวเก็บประจุ นำค่าหรือขนาดของตัวเก็บประจุที่ได้ไปจำลองการทำงาน เพื่อหาค่า THD ของเอาท์พุต  , ค่า PF , ร่วมกับพิจารณาการไหลของกระแสเอาท์พุตว่ามีความต่อเนื่องหรือไม่  จากการจำลองการทำงานพบว่าในกรณีที่โหลดต้องการการทำงานในโหมดกระแสไหลอย่างต่อเนื่อง การลดค่ากระแสในฮาร์โมนิกที่ 2 ลง 50 %  ที่ค่า  มีค่าระดับความผิดเพี้ยนของกระแส 19.21%  มีค่าตัวประกอบกำลัง 0.401 เป็นค่าที่ดีที่สุดจากการศึกษาในครั้งนี้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กำจัด ใจตรง, และปิยะนัฐ ใจตรง. (2562). วงจรเรียงกระแสบริดจ์เฟสเดียวที่มีการแก้ไขค่าตัวประกอบกำลังของวงจรแปลงผันแบบบูสต์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี(วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 3(2), 1-10.

ไชยนรินทร์ อัครวโรดม, และคณะ. (2557). การปรับปรุงค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้าและลดความเพี้ยนเชิงฮาร์โมนิกรวมของกระแสไฟฟ้าในวงจรเรียงกระแสชนิดบริดจ์ 1 เฟส โดยใช้วงจรเรียงกระแสแบบรีโซแนนท์คลาสดีสำหรับงานบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สำนักงานคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ.

ประหยัด กองสุข, และวิบูลย์ ชื่นแขก. (2549). วงจรแปลงผันไฟฟ้ากระแสสลับเป็นไฟฟ้ากระแสตรง 1 เฟส แบบ SEPIC ที่มีค่าตัวประกอบกำลังใกล้เคียงหนึ่งโดยประยุกต์ใช้หลักการสมดุลกำลังไฟฟ้า. การประชุมวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้า ครั้งที่ 29 (EECON-29), 9-10 พฤศจิกายน 2549 ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์จอมเทียน ชลบุรี

McCarty, M. & Anwari, M. (2009). Harmonic Analysis of Input Current of Single-Phase Controlled Bridge Rectifier. IEEE Symposium on Industrial Electronics and Applications , October 4-6 ,Kuala Lumpur Malaysia.

Rashid, M . (1993). Power Electronics: Circuits, Devices, and Applications (2nd ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Thomas, S. & Jih-sheng Lai. (1998). IEEE and International Harmonic Standards Impact on Power Electronic Equipment Design. IEEE IECON, New Orleans, LA (pp. 430-436).