เปรียบเทียบการใส่มูลหนอนมอดรำข้าวสาลีและปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของพริกหยวกพันธุ์คัด-ม.อ.

Main Article Content

ปัทมาวดี คุณวัลลี
เทวี มณีรัตน์

บทคัดย่อ

การใช้ประโยชน์จากมูลหนอนมอดรำข้าวสาลี (mealworm waste) ซึ่งเป็นของเสียจากการเลี้ยงหนอนมอดรำข้าวสาลี (Tenebrio moliter L.) เพื่อเป็นแหล่งธาตุอาหารพืชและปรับปรุงโครงสร้างดิน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการใส่มูลหนอนมอดรำข้าวสาลีและปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตพริกหยวกพันธุ์คัด-ม.อ. วางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design ประกอบด้วย 3 กรรมวิธี กรรมวิธีละ 3 ซ้ำ ดังนี้ T1 ไม่ใส่ปุ๋ย (ชุดควบคุม) T2 ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 21-0-0 อัตรา 10 กิโลกรัม/ไร่ และ 15-15-15 อัตรา 20 กิโลกรัม/ไร่ และ T3 ใส่มูลหนอนมอดรำข้าวสาลี อัตรา 60 กิโลกรัม/ไร่ พบว่า การเจริญเติบโตและองค์ประกอบผลผลิตของพริกหยวก ได้แก่ ความกว้าง ความยาวความหนาและน้ำหนักสดผลผลิต ที่ได้จากทั้ง 3 กรรมวิธีไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่กลับพบว่าจำนวนผลผลิตในแต่ละกรรมวิธีมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยกรรมวิธีที่ใส่ปุ๋ยเคมีให้ผลผลิตพริกหยวกสูงสุด รองลงมาคือ กรรมวิธีที่ใส่มูลหนอนมอดรำข้าวสาลี และ ชุดควบคุม ตามลำดับ จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการใส่มูลหนอนมอดรำข้าวสาลีสามารถนำมาใช้สำหรับการผลิตพริกหยวกได้ โดยมีผลต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตใกล้เคียงกับการใส่ปุ๋ยเคมี และยังเป็นการหมุนเวียนนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพของมูลหนอนมอดรำข้าวมีความผันแปรตามอาหารที่ใช้สำหรับการเลี้ยงแมลง จึงจำเป็นต้องวิเคราะห์องค์ประกอบธาตุอาหารของมูลหนอนมอดรำข้าวสาลีและอัตราการใช้ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืชแต่ละชนิด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2563). ระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านการเกษตร online. สืบค้นจาก http://production.doae.go.th

ขวัญจิตร สันติประชา. (2544). การปลูกพืชผัก. โครงการฝึกอบรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีวิชาชีพการเกษตรแก่ผู้นำชุมชนและครูเกษตรในภาคใต้ 13–18 สิงหาคม 2544. สงขลา : ภาควิชาพัฒนาการเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ชุลีมาศ บุญไทย อิวาย, และณัฏฐิรา แกล้วกล้าหาญ. (2559). การศึกษาปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพปุ๋ยหมัก โดยไส้เดือนดินระหว่างการเก็บรักษา. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์, 3(2), 55–61.

ธีระรัตน์ ชินแสน, วชิระ จันคง, อภิชาต งอกดี, ธนศักดิ์ พิมโยธา, และอนงค์นาฏ คำทะเนตร. (2559). ผลของการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยคอกต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของขึ้นฉ่าย. แก่นเกษตร, 44, 587–560.

ปรัชวนี พิบำรุง. (2558). การใช้ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดมูลหนอนนกเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 23(2), 268–275.

ปรัชวนี พิบำรุง, และชมพร สุวินทรากร. (2558). ผลการใช้มูลหนอนนกต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตมะเขือยาวในระบบเกษตรอินทรีย์. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 46(3)(พิเศษ), 313–316.

พักตร์เพ็ญ ภูมิพันธ์, สมชาย ชคตระการ, วรภัทร ลัคนทินวงศ์, ชวินทร์ ปลื้มเจริญ, ภิรญา ชมพูผิว, และอรประภา เทพศิลปวิสุทธิ์. (2559). การเปรียบเทียบระหว่างปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงต่อคุณภาพข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 24(5)(พิเศษ), 754–765.

รัตนะ สวามีชัย, ประวัติ นกอิ่ม, และเรือนขวัญ อินทนนท์. (2555). การจัดการปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตข้าวในจังหวัดพิษณุโลก. วาสารวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน, 5(1), 1–14.

รุ่งนภา โบวิเชียร. (2563). พริก. สืบค้นจาก http://www.agriman.doae.go.th/home/news/2562/45-46.pdf

เสาวลักษณ์ ธรรมวงษ์. (2547). ผลของอายุการเก็บเกี่ยวที่มีต่อการพัฒนาและการสุกแก่ของเมล็ดพันธุ์พริกหยวกพันธุ์คัด-ม.อ. ใน สัมมนาพืชศาสตร์ บัณฑิตศึกษา สาขาวิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อานนท์ เชยจำรูญ. (2547). ธุรกิจอาหารปลาสวยงาม. พงษ์สาส์น, กรุงเทพฯ.

Choi, W.-J., Ro, H.-M., Hobbie, E. A., & Lee, S.-M. (2003). Patterns of natural 15N in soils and plants from chemically and organically fertilized uplands. Soil Biology and Biochemistry, 35(11), 1493–1500.

Houben, D., Daoulas, G., Faucon, M.-P. F., & Dulaurent, A.-M. D. (2020). Potential use of mealworm frass as a fertilizer: Impact on crop growth and soil properties. Scientific Reports, 10, 4659 DOI: 10.1038/s41598-020-61765-x

Liu, H. R., Yang, Z. F., Tan, D. F., & Wu, Z. S. (2003). Study on the fertilizer efficiency of the frass of Tenebrio molitor L. Journal of Quanzhou Normal College (natural Science), 21, 68–70.

Liu, X., Ren, G., & Shi, Y. (2011). The effect of organic manure and chemical fertilizer on growth and development of Stevia rebaudiana Bertoni. Energy Procedia, 5, 1200–1204.

Naeem, M., Iqbal, J., & Bakhsh, M. A. A. (2006). Comparative study of inorganic fertilizers and organic manures on yield and yield components of mungbean (Vigna radiat L.). Journal of Agriculture & Social Sciences, 2(4), 227–229.

Ng, J. (2009). Effects of Tenebrio molitor Linnaeus on degradation and conversion of food waste into organic fertilizer. B.E. Final year project. Nanyang University of Technology. Retrieved from https://hdl.handle.net/10356/16325.

Wisdom, S. G. O., Ndana, R. W., & Abdulrahim, Y. (2012). The comparative study of the effect of organic manure cow dung and inorganic fertilizer N.P.K on the growth rate of maize (Zea mays L.). International Research Journal of Agricultural Science and Soil Science, 2(12), 516–519.