การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันสำหรับการแจ้งซ่อมภายในหอพักนักศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบแจ้งซ่อมภายในหอพักนักศึกษาผ่านโมบายแอปพลิเคชัน 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพระบบแจ้งซ่อมภายในหอพักนักศึกษา และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อการใช้ระบบแจ้งซ่อมภายในหอพักนักศึกษา การพัฒนาระบบใช้ภาษา PHP ร่วมกับฐานข้อมูล MySQL และส่วนติดต่อผู้ใช้งานใช้ภาษา HTML, CSS, Bootstrap และ jQuery Mobile เพื่อรองรับการทำงานโมบายแอปพลิเคชันและเว็บแอปพลิเคชัน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ ระบบแจ้งซ่อมภายในหอพักนักศึกษา แบบประเมินประสิทธิภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน และแบบสอบถามความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย อาจารย์ประจำหอพัก/นักศึกษาหอพัก เจ้าหน้าที่หอพัก แม่บ้านประจำหอพัก และช่างซ่อมบำรุงของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จำนวน 130 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง
ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) ระบบแจ้งซ่อมภายในหอพักนักศึกษาผ่านโมบายแอปพลิเคชันลดขั้นตอนในการประสานงาน ลดการสัมผัสใกล้ชิดของผู้ใช้งานและมีระบบจัดการทะเบียนพัสดุหอพักในการเบิก รับ และจ่ายพัสดุ 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพระบบของผู้เชี่ยวชาญโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ( = 4.39, S.D. = 0.52) และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ( = 4.41, S.D. = 0.68)
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
งานหอพักนักศึกษา. (2563). คู่มือหอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช. สืบค้นจาก https://anyflip.com/ugomn/tihz/basic
เจนจิรา ภาผิวดี, และอรรถกร เก่งพล. (2562). โปรแกรมและการจัดการฐานข้อมูลสำหรับการบันทึกข้อมูลการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ กรณีศึกษาบริษัทอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิขาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 30(3), 432-442.
เชี่ยวชาญ ยางศิลา. (2561). ระบบแจ้งเตือนผ่านโมบายแอปพลิเคชันเมื่อรถยนต์เคลื่อนที่ผ่านจุดตรวจ โดยใช้อาร์เอฟไอดี. วารสารวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 8(2), 15-24.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
มงคล รอดจันทร์, อวยไชย อินทรสมบัติ, และธานิล ม่วงพูล. (2561). การพัฒนาแอปพลิเคชันบนแอนดรอยด์ร่วมกับคิวอาร์โค๊ดสำหรับการบันทึกการเข้าเรียนของนักศึกษาวิชาทหาร. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 5(1), 88-96.
วีระพน ภานุรักษ์, และเดือนเพ็ญ ภานุรักษ์. (2563). ระบบ RMU-M-Commerce ผ่านระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ. วารสารวิชาการ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 6(1), 58-69.
สมสุข นาคะพัฒนกุล, และปพิชญา นิเทศ. (2561). ระบบบริหารงานแจ้งซ่อมบำรุงออนไลน์. วารสารวิชาการที่ประชุมสภาข้าราชการ พนักงาน และลูกจ้าง มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย, 7(1). 36–46.
สุทธิพงศ์ สุวรรณเดชา. (2560). การพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือสำหรับสนับสนุนการปฏิบัติงานของช่างไฟฟ้าการประปาส่วนภูมิภาค เขต 5. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สุรเดช นิลคุณ, เดช บุญประจักษ์, จรูญ จันแทน, และบดินทร์ แก้วบ้านดอน. (2561). การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจในการซ่อมบำรุงอากาศยาน. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2(8), 117-126.
สุริยัน นิลทะราช, และสมบูรณ์ ชาวชายโขง. (2563). การพัฒนาระบบสารสนเทศการบริหารงานพัสดุเพื่อการควบคุมวัสดุ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. วารสารบัณฑิตศึกษา, 17(76), 191-201.