การศึกษาผลของนาโนซิงค์ออกไซด์ต่อกระบวนการเพิ่มเฉดสีเส้นด้ายฝ้ายด้วยสีย้อมธรรมชาติจากขมิ้น

Main Article Content

ปทิตตาท์ วงศ์แสงเทียน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของกระบวนการเพิ่มจํานวนเฉดสีย้อมธรรมชาติบนเส้นด้ายฝ้ายจากขมิ้นร่วมกับนาโนซิงค์ออกไซด์ต่อค่าสีและความคงทนของสีเส้นด้ายฝ้าย และเปรียบเทียบสีการย้อมต้นแบบกับการย้อมในห้องปฏิบัติการ วิธีการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย กระบวนการเพิ่มจํานวนเฉดสีย้อมธรรมชาติบนเส้นด้ายฝ้ายจากขมิ้นร่วมกับนาโนซิงค์ออกไซด์ การวัดหาค่าเฉดสีในระบบ CIELAB การทดสอบความคงทนต่อการซักฟอกและแสง และการเปรียบเทียบสีการย้อมต้นแบบกับการย้อม
ในห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการเพิ่มจำนวนเฉดสีที่ดีที่สุด คือ วิธีที่ 4 (2) น้ำย้อมสีที่สกัดได้จากขมิ้น ดอกอัญชัน ดอกกระเจี๊ยบ และไม้ฝาง มาย้อมพร้อมกับสารช่วยติดสีพร้อมนาโนซิงค์ออกไซด์ 0.05% จะทำให้สีเส้นด้ายฝ้ายที่มีความสว่างมากที่สุด และวิธีที่ 3 น้ำย้อมสีที่สกัดได้จาก ดอกอัญชัน ดอกกระเจี๊ยบและไม้ฝาง นำมาย้อมทับด้วยสีเหลืองส้มจากน้ำย้อมขมิ้น จะทำให้สีเส้นด้ายฝ้ายมีค่าสีแดงและค่าสีเหลืองมากที่สุด ค่าสีของเส้นด้ายฝ้ายที่ได้มีความสว่าง (L*) อยู่ระหว่าง 45.73 - 67.64 ซึ่งค่าสีแดง – เขียว (a*) อยู่ระหว่าง 22.79 - 0.82 และค่าสีเหลือง – น้ำเงิน (b*) อยู่ระหว่าง 29.88 - 72.49 สีของเส้นด้ายฝ้ายมีความคงทนต่อแสงและการซักส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี และสีที่ได้จากการย้อมในระดับต้นแบบไม่แตกต่างจากการย้อมในห้องปฏิบัติการ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). การย้อมสิ่งทอด้วยสีธรรมชาติ. สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: กรุงเทพฯ.

ชนาธินาถ ไชยภู. (2556). การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าผ้ายมัดย้อมสีธรรมชาติจากเปลือกสะตอ กรณีศึกษากลุ่มมัดย้อมสีธรรมชาติบ้านคีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ตะวัน ตนยะแหละ รวิเทพ มุสิกะปาน และสิริมา สัตยาธาร. (2560). การสร้างสรรค์สีย้อมธรรมชาติและลายผ้าเพื่อพัฒนาผ้าบาติกสู่ชุมชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

นุชนาถ มีพันธ์ ศศิประภา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต และศรันยา เผือกผ่อง. (2559). การย้อมผ้าไหมด้วยสีย้อมธรรมชาติจากเหง้ากระชายดำ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ภัทรา ศรีสุโข. (2561). การพัฒนาภูมิปัญญาการย้อมสีธรรมชาติจากพันธุ์พืชในท้องถิ่นสู่เครื่องประดับตำบลบ่อ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.