ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะน้ำหนักเกินในนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

นัชชา ยันติ
กริช เรืองไชย

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะน้ำหนักเกินในนักศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 283 คน เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ต่อภาวะน้ำหนักเกินที่ใช้เกณฑ์การคำนวณอัตราส่วนน้ำหนักต่อส่วนสูงคิดเป็นค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index: BMI) โดยการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกพหุ (Multiple logistic regressions) กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในหอพักจะเสี่ยงต่อการมีน้ำหนักเกินมากกว่านักศึกษาที่อาศัยอยู่ที่บ้าน 4.07 เท่า (ORadj = 4.07, 95%CI = 1.59-10.40, p = 0.003) กลุ่มตัวอย่างที่ไม่ออกกำลังกายจะเสี่ยงต่อการมีน้ำหนักเกินมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ออกกำลังกาย 5.03 เท่า (ORadj = 5.03, 95%CI = 2.46-10.27, p =<0.001) กลุ่มตัวอย่างที่ดื่มแอลกอฮอล์จะเสี่ยงต่อการมีน้ำหนักเกินมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ 3.10 เท่า (ORadj =3.10, 95%CI = 1.36-7.06, p = 0.007) กลุ่มตัวอย่างที่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารในระดับปานกลางจะเสี่ยงต่อการมีน้ำหนักเกินมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารในระดับดี 6.16 เท่า (ORadj = 6.16, 95%CI = 2.18-17.40,
p < 0.001)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธ์. (2551). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร. พิมพครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.

ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, และเกียรติยศ วรเดช. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะอ้วนลงพุงในนิสิต มหาวิทยาลัยทักษิณวิทยาเขตพัทลุง. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา, 10(2), 55-65.

ภัทระ แสนไยสุริยา. 2558. รายงานประเมินแผนงานควบคุมโรคไม่ติดต่อในประเทศไทย ปีงบประมาณ 2553-2557 (รายงานผลการวิจัย). ขอนแก่น: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วรรณภา เล็กอุทัย, ลี่ลี อิงศรีสว่าง, เนติ สุขสมบูรณ์ และยศ ตีระวัฒนานนท์. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคอ้วนในกลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 4(3), 299-306.

วัชรินทร์ เสมามอญ. (2562). ผลการใช้โปรแกรมการลดน้ำหนักสำหรับนักศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 5(2), 65-74.

วิชัย เอกพลากร. (2557). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2557). สุขภาพคนไทย 2557: ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง... สู่การปฏิรูปประเทศจากรากฐาน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง.

สาวิตรี อัษณางค์กรชัย. (2562). รายงานสถานการณ์ การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสังคมไทย ประจำ ปี พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). สถานการณ์การดำเนินงานด้านการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อ (NCDs). สืบค้นจาก http://www.thaincd.com /2016/media-detail.php?id=132 32&gid=1-015-005

อภิชัย มงคล, ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์, ทวี ตั้งเสรี, วัชนี หัตถพนม, ไพรวัลย์ ร่มซ้าย, และวรวรรณ จุฑา. (2552). การพัฒนาและทดสอบดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย (Version 2007). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย จำกัด.

Best, John. (1977). Research in Education. New Jersey:Prentice Hall, Inc.1977.

Dockray, S., Susman, E. J., & Dorn, L. D. (2009). Depression, Cortisol Reactivity, and Obesity in Childhood and Adolescence. Journal of Adolescent Health, 45(4), 344–350.

Jih, J., Mukherjea, A., Vittinghoff, E., Nguyen, TT., Tsoh, JY., Fukuoka, Y., …Kanaya., AM. (2014). Using appropriate body mass index cut points for overweight and obesity among Asian Americans. Prev Med, 65, 1–6.

Teerawattananon, Y., & Luz, A. (2017). Obesity in Thailand. ADBI Working Paper, 703.

Traversy, G., & Chaput, JP. (2015). Alcohol Consumption and Obesity: An Update. Current Obesity Reports, 4(1), 122–130.

World Health Organization expert consultation. (2004). Appropriate body-mass index for Asian populations and its implications for policy and intervention strategies. Lancet, 363, 157-63