การศึกษาคุณสมบัติคอนกรีตบล็อกชนิดไม่รับน้ำหนักผลิตจากหินฝุ่นบะซอลต์ผสมเถ้าชานอ้อย ในพื้นที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์

Main Article Content

จิรวัฒน์ วิมุตติสุขวิริยา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติคอนกรีตบล็อกชนิดไม่รับน้ำหนักผลิตจากหินฝุ่นบะซอลต์ผสมเถ้าชานอ้อยในพื้นที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์  ขั้นตอนการวิจัยเริ่มจากการทดสอบคุณสมบัติคอนกรีตบล็อกที่ผลิตและจำหน่ายในพื้นที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์และใกล้เคียง  จากนั้นผลิตคอนกรีตบล็อกตัวอย่าง คือ คอนกรีตบล็อกจากหินฝุ่นบะซอลต์ทั้งผสมและไม่ผสมเถ้าชานอ้อย  ดำเนินการทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพเมื่อคอนกรีตบล็อกมีอายุ 28 วัน และทดสอบกำลังอัดเมื่อมีอายุ 14 วัน 28 วัน และ 60 วัน  โดยตัวอย่างทดสอบแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 คอนกรีตบล็อกที่ผลิตและจำหน่ายในพื้นที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์และใกล้เคียง กลุ่มที่ 2 คอนกรีตบล็อกที่ผลิตจากหินฝุ่นบะซอลต์ และกลุ่มที่ 3 คอนกรีตบล็อกที่ผลิตจากหินฝุ่นบะซอลต์ผสมเถ้าชานอ้อย  ผลการวิจัยพบว่าคอนกรีตบล็อกที่ผลิตและจำหน่ายในพื้นที่อำเภอเมืองบุรีรัมย์และใกล้เคียงส่วนใหญ่มีกำลังอัดเฉลี่ยผ่านเกณฑ์แต่มีขนาดเล็กกว่าข้อกำหนดในมาตรฐาน มอก. 58-2530  คอนกรีตบล็อกที่มีผนังกั้นโพรงและเปลือกบางมีแนวโน้มความหนาแน่นมากกว่าที่มีผนังกั้นโพรงและเปลือกหนา  ทั้งนี้คอนกรีตบล็อกที่ผลิตจากหินฝุ่นบะซอลต์ผสมเถ้าชานอ้อยที่สัดส่วน 0.15 โดยน้ำหนักซีเมนต์ มีแนวโน้มความหนาแน่นมากกว่าที่ไม่ผสมเถ้าชานอ้อย  ขณะที่การดูดกลืนน้ำและความพรุนคอนกรีตบล็อกจะลดลงเมื่อใช้อัตราส่วนผสมที่มีปริมาณซีเมนต์เพิ่มขึ้นหรือเมื่อผสมเถ้าชานอ้อยที่สัดส่วน 0.15 โดยน้ำหนักซีเมนต์  ถึงแม้ว่าการใช้หินฝุ่นบะซอลต์ในการผลิตคอนกรีตบล็อกต้องใช้ปริมาณซีเมนต์มากกว่าหินฝุ่นหินปูนจึงจะมีกำลังอัดใกล้เคียงกันแต่การผสมเถ้าชานอ้อยจะช่วยลดต้นทุนการผลิตในขณะที่ความแข็งแรงยังคงเดิม  อนึ่งปริมาณเถ้าชานอ้อยเหมาะสมควรมีสัดส่วนผสมระหว่าง 0.1-0.2 โดยน้ำหนักซีเมนต์ จึงจะช่วยเพิ่มกำลังอัดคอนกรีตบล็อกได้ประมาณร้อยละ 7-8

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมทรัพยากรธรณี. (2553). การจำแนกเขตเพื่อการจัดการด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณีจังหวัดบุรีรัมย์. กรุงเทพฯ: บริษัทจันวาณิชย์ซีเคียวริตี้พริ้นท์ติ้งจำกัด.

ชัย จาตุรพิทักษ์กุล. (2555). การใช้เถ้าชานอ้อยเพื่อเป็นวัสดุปอซโซลานในงานคอนกรีต. วารสารวิชาการสมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย, 16, 70-80.

บุรฉัตร ฉัตรวีระ, สุธี จริยธีรเวช, และณัฏฐ์ มากุล. (2552). คุณสมบัติของคอนกรีตบล็อกกลวงชนิดไม่รับน้ำหนักและไม่ควบคุมความชื้นผสมแร่ดินเบาและเถ้าชานอ้อย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 32(1), 59-76.

วันโชค เครือหงส์, ธีรวัฒน์ สินศิริ, ชัย จาตุรพิทักษ์กุล, และปริญญา จินดาประเสริฐ. (2555). การศึกษาโครงสร้างจุลภาคของซีเมนต์เพสต์ผสมเถ้าปาล์มน้ำมัน. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 35(2), 187-200.

สิทธิชัย แสงอาทิตย์. (2556). อัตราส่วนปูนซีเมนต์ต่อหินฝุ่นที่เหมาะสมในการผลิตคอนกรีตบล็อกหรืออิฐบล็อก. วารสารวิชาการสมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย, 20, 1-5.

สุชาดา ศรีไพโรจน์ธิกูล. (2539). การศึกษาคุณภาพของหินปูนและโดโลไมต์จากแหล่งต่าง ๆ ของประเทศไทยโดยวิธี XRF. กรุงเทพฯ: กรมทรัพยากรธณณี กระทรวงอุตสาหกรรม.

สัจจะชาญ พรัดมะลิ, และประชุม คำพุฒ. (2560). การใช้เทคโนโลยีสำหรับชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์คอนกรีตบล็อกจากเศษหินบะซอลต์. การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตน์โกสินทร์ ครั้งที่ 2, 20-21 มิถุนายน 2560 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (1-11). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

อาทิมา ดวงจันทร์, และสุวิมล สัจจวาณิชย์. (2548). คอนกรีตบล็อกผสมเถ้าชานอ้อย. การประชุมวิชาการคอนกรีตแห่งชาติ ครั้งที่ 3, 24-26 ตุลาคม 2550 ณ โรงแรมลองบีช การ์เด้น แอนด์ สปา พัทยา (6-10). ชลบุรี: สมาคมคอนกรีต วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย.