ความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. กับระดับดัชนีมวลกาย ของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส. กับดัชนีมวลกายของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์ จำนวน 194 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสอบถาม ระหว่างเดือนสิงหาคม ถึง เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส. วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติการทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีดัชนีมวลกายระดับปกติ (ร้อยละ 56.7) รองลงมา คือ ดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์ (ร้อยละ 22.7) และ ดัชนีมวลกายต่ำกว่าเกณฑ์ (ร้อยละ 20.6) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกาย ได้แก่ ภาวะน้ำหนักเกินของบุคคลในครอบครัว ( = 7.377, df= 2, p=0.025) ระดับชั้นปี ( = 22.35, df= 6, p=0.001) รายรับต่อเดือน ( = 8.900, df= 4, p=0.001) ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรม 3อ. 2ส. ( = 9.954, df= 4, p=0.041) และ พฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส. ( = 10.68, df= 4, p=0.030)ผลจากการศึกษาในครั้งนี้ จะเป็นข้อมูลสำหรับการนำไปใช้ในการวางแผนและส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ. 2ส. เพื่อป้องกันการเกิดภาวะน้ำหนักเกินและภาวะอ้วนของนักศึกษาในอนาคตต่อไป
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กัลยาณี โนอินทร์. (2560). ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในวัยเรียนและวัยรุ่นไทย. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(2), 1-8.
จักรินทร์ ปริมานนท์, และคณะ. (2561). ภาวะโภชนาการและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะโภชนาการในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี:การทบทวนวรรณกรรม. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(1), 329-342.
จิรัชญา สุปินราษฎร์. (2557). พฤติกรรมการบริโภคที่มีความเสี่ยงที่มีผลต่อภาวะน้ำหนักเกินของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่.
ชื่นฤทัย กาญจนจิตรา. (2557). รายงานสุขภาพคนไทย 2557, สืบค้นจาก http://www.thaihealth.or.th
ฉัตรฤบดี สุบรรณ ณ อยุธยา, และพรพิไล เติมศิลป์สวัสดิ์. (2559). ภาวะน้ำหนักเกินกับพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยราชมงคลพระนครมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. กรุงเทพ.
ฐาปนี สิริรุ่งเรือง. (2559). รายงานการวิจัยความรู้เจตคติและพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ.2ส. ของพนักงานบริษัทเบทาโก จำกัด. มหาวิทยาลัยเกริก.
ตวงพร กตัญญุตานนท์. (2554). ภาวะโภชนาการและพฤติกรรม 3อ.2ส. ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก.วิชาการ, 14(28), 67-84.
นริสรา พึ่งโพธิ์สภ. (2551). ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโภชนาการเกินของเด็กวัยเรียนในกรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพ.
สมศักดิ์ ถิ่นขจี. (2555). พฤติกรรมการลดความอ้วนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี จังหวัดนนทบุรี. วิทยาลัยราชพฤกษ์. นนทบุรี.
สุดารัตน์ วาเรศ. (2556). ผลการออกกำลังกายด้วยการเดินที่มีผลต่อระดับดัชนีมวลกายและเปอร์เซ็นไขมันของนักเรียน. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพ.
สุทธิชา สายเมือง. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเกิดภาวะอ้วนในกลุ่มเด็กระดับประถมศึกษาตอนต้น อำเภอมือง จังหวัดกำแพงเพชร. การประชุมวิชาการระดับชาตินเรศวรวิจัย ครั้งที่ 12. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สำนักระบาดวิทยา. (2558). สรุปรายงานเฝ้าระวังโรคประจำปี. สืบค้นจาก http://www.boe.moph.go.th
สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน. (2558). สถิติและจำนวนนักศึกษาปีการศึกษา 2561. มหาวิทยาลัย ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. ปทุมธานี.
Aekplakorn, W. (2016). National Health Examination Survey V report. Nonthaburi: Graphigo System.
Bloom. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill.
Best, J.W. (1997). Research in Education. New Jersey: Prentice hall Inc.
Chaisri, J. (2014). Clinical Nursing Practice Guideline for Management of Obesity in Children. Journal of the Royal Thai Army Nurses, 15(2), 360-367.
Daniel, W.W. (1995). Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences. New York: Wiley & Sons.
Gurnani, M. (2015). Childhood Obesity: Causes, Consequences, and Management. Pediatric Clinics of North America, 62(4), 821-840.
Pulgaron, E.R. (2013). Childhood obesity: a review of increased risk for physical and psychological comorbidities. Clinical Therapeutics, 35(1), 18-32.
Reilly, J.J. (2011). Long-term impact of overweight and obesity in childhood and adolescence on morbidity and premature mortality in adulthood: systematic review. Int J Obes, 35(7), 891-898.
World Health Organization. (2018). WHO Report on the Global Tobacco Epidemic. Retrieved from http://www.who.int/tabaco