การศึกษาปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดและฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระในสารสกัดหยาบใบพิลังกาสา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด สารประกอบแทนนินทั้งหมด สารประกอบฟลาโวนอยด์ทั้งหมด และสารต้านอนุมูลอิสระของส่วนสกัดหยาบจากใบพิลังกาสา จากการวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด ปริมาณสารประกอบแทนนินทั้งหมด และปริมาณสารประกอบ ฟลาโวนอยด์ทั้งหมด พบว่ามีปริมาณเท่ากับ 612.79 mg GAE/g, 58.97 mg TAE/g และ 0.62 mg QE/g ตามลำดับ ในการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบจากใบพิลังกาสาด้วยวิธี DPPH และ ABTS พบว่าสารสกัดหยาบจากใบพิลังกาสา มีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ โดยมีค่า EC50 เท่ากับ 12.28 และ 8.24 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และพบความสามารถเป็นตัวรับอิเล็กตรอนของสารสกัดหยาบใบพิลังกาสา Fe3+ เท่ากับ 192.39 ไมโครโมลต่อกรัมน้ำหนักสารสกัดเทียบกับสารมาตรฐาน BHT BHA Vitamin C และ α-Tocopherolrol ซึ่งมีค่า EC50 เท่ากับ 13.74 16.18 15.24 และ 14.46 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ ข้อมูลการศึกษานี้จะเป็นองค์ความรู้พื้นฐานในการพัฒนาสมุนไพรพื้นบ้านให้เกิดมูลค่าต่ออุตสาหกรรมการรักษาต่อไปในอนาคต
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ณพัฐอร บัวฉุน. (2558). สารต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารฟีนอลิกรวมของสารสกัดจากชะเอมไทย. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 10(2), 78-95.
ณพัฐอร บัวฉุน, และเยาวนารถ งามนนท์. (2561). การพัฒนาโลชั่นบำรงผิวจากสารสกัดหยาบชะเอมไทยและพิลังกาสา. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 13(2), 74-85.
บรรทด จอมสวรรค์, ธนุศักดิ์ ธนะสาร, ประเสริฐ ไวยะกา, และศุรวุฒิ ใจกล้า. (2560). ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ทางชีวภาพของผักจ้ำ. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ, 11(3), 1-9.
ปณัฐฐา ไชยมุติ. (2546). การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของพืชสมุนไพรบางชนิด. วิทยานิพนธ์วท.ม. (ชีวเคมี) สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ปิยศิริ สุนทรนนท์, อุบล ตันสม, และสมภพ เภาทอง. (2557). การศึกษากิจกรรมต้านออกซิเดชันจากส่วนต่าง ๆ ของผลพิลังกาสา. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ไมตรี สุทธจิตต์, อุดมภัณฑ์ ชาลสุวรรณ, ศิริวรรณ สุทธจิตต์, ปกฤษฎางค์ แก้วสุริยะ, และภัคสิริ สินไชยกิจ. (2543). ความสามารถของสารสำคัญในการต่อต้านออกซิเดชันของสมุนไพรไทย. รายงานการวิจัยแพทย์แผนไทยฉบับสมบูรณ์. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Amicet Amic D, D. Beslo & N. Trinajstic. (2003). Structure-radical scavenging activity relationships of flavonoids. Croatica Chim Acta, 76: 55–61.
Benzie IFF,& Strain JJ. (1996) The ferric reducing ability of plasma (FRAP) as a measure of antioxidant power the FRAP assay. Analytical biochemistry, 239(1), 70-76.
Dey S., Hira A., Howlader MS., Ahmed A., Hossain H., & Jahan IA.(2014) Antioxidant and antidiarrheal activities of ethanol extract of Ardisia elliptica fruits. Phrm Biol, 52 :213-220.
Morel, I., Cillard, P. & Cillard, J. (1998). Flavonoid-metal Interactions in Biological System, In C.A. Rice-Evans and L. Packer (eds.). Flavonoids in Health and Disease (3rd), New York, 163-177.
Piluzza, G. & Bullitta, S. (2011). Correlations between phenolic content and antioxidant properties in twenty-four plant species of traditional ethnoveterinary use in the Mediterranean area. Pharmaceutical Biology, 49(3), 240-247
Pitchaon, M., Maitree, S. & Rungnaphar P. (2006). Assessment of phenolic content and free radical-scavenging capacity of some Thai indigenous plants. Food Chemistry, 100(4): 1409-1418.
Prommuak, C., D-Eknamkul, W. & Shotipruk, A. (2008). Extraction of flavonoids and carotenoids from thai silk waste and antioxidant activity of extract. Separation and Purification Technology, 62, 444-448.
Re, R., Pellegrini, N., Proteggente, A., Pannala, A., Yang, M. & Rice-Evans, C. (1999), Antioxidant activity applying an improved ABTS radical cation decolorization assay. Free Radical Biology and Medicine, 26, 1231-1237.
Slinkard, K., & Singleton, V.L. (1997). Total phenol analysis: Automation and comparison with
manual methods. American Journal of Enology and Viticulture, 28(1): 49-55.
Zhu, K., Zhou, H. & Qian, H. 2006. Antioxidant and free radical-scavenging activities of wheat germ protein hydrolysates (WGPH) prepared with alcalase. Process Biochemistry, 41(6): 1296-1302.
Meryem B., Noori S. A., Nawal E. M., Hamada I., Anna C., Thia A.W., & Badiaa L. (2017). Antioxidant activity and protective effect of bee bread (honey and pollen) in aluminum-induced anemia, elevation of inflammatory makers and hepato-renal toxicity. Journal Food Scientists & Technologists, 54(4): 4205–4212.