การพัฒนาความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุติดเตียงด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย

Main Article Content

ลัดดาวัลย์ ชูทอง
ยามีละ ดอแม

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานของผู้สูงอายุติดเตียงก่อนและหลังพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย (การนวดและการประคบสมุนไพร) โดยนำกระบวนการ PDCA มาประยุกต์ในวิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้สูงอายุติดเตียงที่อาศัยอยู่ตำบลบางพูน อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 30 คน มีค่า ADL ไม่เกิน 12 คะแนน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยครั้งนี้ คือ แบบประเมินดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel  ADL index) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 


            ผลการศึกษา พบว่า ระดับความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานของผู้สูงอายุติดเตียงเปรียบเทียบก่อนและหลังพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย โดยกลุ่มพึ่งพิงผู้อื่นบ้างมีค่าสูงสุด คือ จากร้อยละ 70.00 เป็นร้อยละ 56.67 ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีค่าลดลง โดยไปเพิ่มจำนวนอยู่ในกลุ่มพึ่งพิงผู้อื่นเล็กน้อย จากร้อยละ 6.67 เป็นร้อยละ 20.00


            การเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานของผู้สูงอายุติดเตียงก่อนและหลังพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย พบว่า คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานของผู้สูงอายุติดเตียงหลังการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย อยู่ในระดับมากกว่าก่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย คือ จาก 7.53 เป็น 7.87 ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานของผู้สูงอายุติดเตียงเพิ่มมากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรกช อินทอง, และคณะ. (2561). รูปแบบการให้บริการสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กรณีศึกษาจังหวัดตรัง. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 11(1), 193- 203.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2558). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2550. สืบค้นจาก http://www.m-society.go.th.

กิ่งกมล พุทธบุญ. (2563). การประยุกต์ใช้การแพทย์พื้นบ้านในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ต.เสนานิคม อ.เสนานิคม จ.อำนาจเจริญ. สืบค้นจาก http://www.amno.moph.go.th/amno_new/files.../1p7.pdf.

ขณิฐฐา ชงโคสันติสุข. (2560). ศักยภาพของชุมชนในการดูแลผู้ป่วยติดตียง เขตพื้นที่อำเภองาว จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ, 4(1), 39-53.

จิรังกูร ณัฐรังสี, และคณะ. (2561). ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจําวันและความสุขของผู้สูงอายุชุมชนทุ่งขุนน้อย อุบลราชธานี. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 2(1), 50-60.

จุฑาทิพ งอยจันทร์ศรี, และอรสา กงตาล. (2555). การพัฒนาการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียงในชุมชนเขตเทศบาลเมืองเพรชบูรณ์. การประชุมวิชาการระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 17 กุมภาพันธ์ 2555, 658-669.

ชาญชัย เหลาสาร, และคณะ. (2563). การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบมีส่วนร่วมของศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเวียง ตำบลกระเดียน อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(5), 813-821.

ณรงค์ สหมธาพัฒน์. (2557). สถานการณ์ผู้สูงอายุติดเตียง. สืบค้นจาก https://www.hfocus.org/content/2014/03/6726.

ณิสาชล นาคกุล. (2561). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังกลุ่มติดบ้านติดเตียง ในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี โดยประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (Barthel ADL). วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 28(3), 36-50.

ประหยัด ธุระแพง. (2561). การพัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ในชุมชนเขตตําบลหนองบัว อําเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลําภู. วารสารวิทยาศาสตรสุขภาพและการสาธารณสุขชุมชน, 1(2), 15-29.

พรรณภัทร อินทฤทธิ์. (2560). การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย โดยนำมาประยุกต์ใช้ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลักธรรมานามัย. วารสารหมอยาไทยวิจัย, 3(2), 35-42.

ราตรี โพธิ์ระวัช. (2562). แนวทางการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของผู้สูงอายุในตําบลนครชุม อําเภอเมือง จังหวัดกําแพงเพชร. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส), 25(4), 76-85.

วัฒนีย์ ปานจินดา, และพุทธวรรณ ชูเชิด. (2559). การดูแลแบบองค์รวมในการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารวิชาการ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 5(2), 70-78.

สุนันทา โอศิริ, และคณะ. (2559). การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยการแพทย์แผนไทย ตามหลักธรรมานามัย.วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 11(2), 33-43.

สุรชัย โชคครรชิตชัย. (2561). คู่มือแนวทางเวชปฏิบัติการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก เขตสุขภาพที่ 3. สืบค้นจาก http://www.ppho.go.th/webppho/dl_strat/F20181018140227.pdf.

อิทธิพล ดวงจินดา. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันกับระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไทยในบริบทพื้นที่จังหวัดชัยนาท. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 35(3), 60-73.